ข้อมูลทั่วไป
คำขวัญ
ความรู้ คู่คุณธรรม
ประวัติโรงเรียน
โรงเรียนบ้านวังข่อย ตั้งอยู่หมู่บ้านวังข่อยหมู่ที่ 4 ตำบลทับใต้ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เดิมเป็นโรงเรียนสาขาของโรงเรียนบ้านห้วยมงคลก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2520 จากการร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้านวังข่อยและชาวบ้านปุ่มมะค่าโดยการนำของนายแหว่ว เอี่ยมศิริ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4 ได้ช่วยกันจัดหาวัสดุในการก่อสร้างอาคารชั่วคราวขนาดกว้าง 9.0 เมตร ยาว 15.0 เมตร เริ่มเปิดทำการสอนเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2520 มีนักเรียนทั้งสิ้น 84 คน ชาย 38 คน หญิง 46 คน มีนายวิชัย ทองเกลี้ยง ครูโรงเรียนบ้านหนองขอนมารักษาการแทนในตำแหน่งครูใหญ่
ต่อมาหมวดการศึกษาอำเภอหัวหิน เห็นว่าที่ตั้งโรงเรียนอยู่ห่างจากถนนเกินไป จึงให้โรงเรียนแลกเปลี่ยนที่ดินกับชาวบ้าน แล้วสร้างโรงเรียนขึ้นมาใหม่เป็นอาคารชั่วคราวโดยขอความร่วมมือจากศูนย์การทหารราบค่ายธนะรัชต์ปราณบุรี ขอรถมาปรับที่ดินและมีชาวบ้านร่วมด้วย 6 คันใช้เวลาในการปรับปรุงพื้นที่ 7 วัน ได้ทำพิธีเปิดอาคารใหม่ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2520 โดยมีหัวหน้าหมวดการศึกษาอำเภอหัวหินมาเป็นประธานในพิธี
เมื่อ พ.ศ. 2521 ทางราชการ ได้กำหนดให้โรงเรียนที่เปิดใหม่ต้องมีเนื้อที่อย่างน้อย 10 ไร่ขึ้นไป ผู้ใหญ่แหว่ว เอี่ยมศิริและชาวบ้านรวบรวมเงินซื้อให้อีก 3 ไร่ และได้ติดต่อกับบริษัทสัปปะรดกระป๋องไทย (ไต้หวัน)สร้างอาคารเรียนให้อีก 1 หลัง มีจำนวนห้องเรียน 4 ห้อง ตัวอาคารมีขนาดกว้าง 8.5 เมตรยาว 36 เมตรทางราชการได้ส่งนางจรรยา ส้มเขียวหวาน มาเป็นครูใหญ่แทนนายวิชัย ทองเกลี้ยง ซึ่งย้ายกลับโรงเรียนเดิม
ปี พ.ศ. 2522 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้จัดสรรงบประมาณสร้างอาคารเรียนให้ 1 หลัง 5ห้องเรียนเป็นอาคารแบบ ป.1จ ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 400,000 บาท (สี่แสนบาทถ้วน) พร้อมสร้างบ้านพักครูตามแบบขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ในวงเงิน 85,000 บาท (แปดหมื่นห้าพันบาทถ้วน)
ปี พ.ศ. 2525 นายสำเภา ประจวบเหมาะ สมาชิกสภาจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้บริจาคทรัพย์สร้างบ่อน้ำบาดาล เป็นเงิน 45,000 บาท(สี่หมื่นห้าพันบาทถ้วน)และซื้อคอนกรีต 48,250 บาท (สี่หมื่นแปดพันสองร้อยห้าสิบบาทถ้วน)
ปี พ.ศ. 2526 ได้งบประมาณจากทางราชการสร้างอาคารเอนกประสงค์ แบบ สปช. 202 / 26 เป็นเงิน 200,000 บาท(สองแสนบาทถ้วน) และส้วมแบบ สปช. 601/26 เป็นเงิน 40,000 บาท
ปี พ.ศ. 2527 ได้รับจัดสรรงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ สปช. 102 / 26 อีกหนึ่งหลัง จำนวน 2 ห้องเรียน เป็นเงิน 280,000 บาท (สองแสนแปดหมื่นบาทถ้วน)
ปี พ.ศ. 2528 ได้งบประมาณสร้างเรือนเพาะชำแบบ พ. 1 จำนวน 1 หลัง เป็นเงิน 15,000 บาท (หนึ่งหมื่นห้าพันบาทถ้วน) ปี พ.ศ. 2529 ได้งบประมาณติดตั้งไฟฟ้าโรงเรียนเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2531 ทางราชการส่งนายประยูร คล้ายจำลอง มาเป็นอาจารย์ใหญ่แทนนายนิเซะ มะกาเจ
ปี พ.ศ. 2532 กำนันแหว่ว เอี่ยมศิริ พร้อมคณะได้จัดสร้างหอถังน้ำประปาโรงเรียนตามแบบของกรมอนามัยซึ่งมีถังเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก 1 ที่
ปีพ.ศ. 2533 ได้งบประมาณสร้างถังน้ำฝน แบบ ฝ.30 พิเศษ จำนวน 1 ที่ 3 ถัง เป็นเงิน 48,500 บาท (สี่หมื่นแปดพันห้าร้อยบาทถ้วน) สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2533
เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2534 บริษัทมาเจสติค ครีกคันทรีคลับได้มาให้ความอนุเคราะห์บริจาคห้องสมุดตามโครงการห้องสมุดคิดเป็นมูลค่า 55,000 บาท (ห้าหมื่นห้าพันบาทถ้วน) ทางโรงเรียนได้ดำเนินการสร้างและได้รับมอบหมายโดยตัวแทน นายอำเภอจากบริษัทเรียบร้อยเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2538
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2536 ได้สร้างโรงเก็บรถนักเรียน โดยการนำของนางรัตนาภรณ์ เพิ่มยศ ซึ่งได้รับความอุปการะจากบริษัทเดอะมาเจสติกครีกและนางบุศรา เถาลิโป้ สร้างเตาเผาขยะบริจาคให้แก่ทางโรงเรียน 1 ที่โดยไม่ได้ใช้เงินงบประมาณของทางราชการทั้งสองรายการ นายแหว่ว เอี่ยมศิริ กำนันตำบลทับใต้และบริษัทเดอะมาเจสติกครีก นำดินมาถมสนามให้แก่ทางโรงเรียนพร้อมปรับพื้นที่ให้เรียบร้อยและใช้การได้ดี
เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2538 นายอมรรัตน์ ม่วงสกุล ได้บริจาคโรงอาหารให้ 1 หลัง เป็นคอนกรีตโครงเหล็ก เป็นเงินค่าก่อสร้าง จำนวน 100,000 บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน)
เมื่อปี 2548 โรงแรมฮิลตันได้บริจาคเงินจำนวน 115,000 บาท เพื่อสร้าง อาคารห้องสมุดให้แก่โรงเรียนจำนวน 1 หลัง และส้วม จำนวน 1 หลัง มี 3 ห้อง และทำการทาสีอาคารเรียนที่ 1 พร้อมบริจาคอาหารและเครื่องเขียนจำนวน หนึ่ง
เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2549 ชาวบ้านได้ร่วมกันจัดสร้าง โรงเก็บรถครูจำนวน 1 หลัง โดยจัดหางบประมาณมาเอง ประมาณ 10,000 บาท
ปี 2550 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนบ้านวังข่อยและชุมชนพร้อมคณะครูได้จัดสร้างโรงจอดรถให้โรงเรียน 1 หลัง เป็นเงิน 20,000 บาท
ปี 2551 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนบ้านวังข่อยและชุมชนได้จัดทอดผ้าป่าการศึกษา ได้เงินจำนวน 100,000 บาท แล้วนำเงินไปสร้างกำแพงโรงเรียนจนเสร็จเรียบร้อย
ปี 2551 องค์การบริหารส่วนตำบลทับใต้ ได้ขอห้องเรียนเพื่อเปิดศูนย์เด็กเล็ก 3 ขวบ 1 ห้องเรียน โดยส่งผู้ดูแลเด็กเล็กจำนวน 2 คน
ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนได้ปูกระเบื้องอีก 5 ห้อง คือ ห้องพยาบาล ห้อง ป.1 -3 และห้องพิเศษ โดยใช้งบประมาณในการจัดงานโรงเรียนประจำปี
ปีการศึกษา 2553 บริษัท อุตสาหกรรมสับปะรดกระป๋องไทย จำกัด โดยโครงการพัฒนาชุมชนโรงเรียนของหนูได้ให้ความอนุเคราะห์ปรับปรุงอาคารเรียนที่ 2 เปลี่ยนฝ้า เพดาน 3 ห้องเรียน ได้แก่ ห้องสื่อ ห้องเรียนแหล่งเรียนรู้ห้องคอมพิวเตอร์ จำนวน ตารางเมตร (เหมาค่าแรงและค่าอุปกรณ์ ทาสีฝ้า สีขาวจำนวน 162 ตารางเมตร เปลี่ยนรางน้ำฝนความยาว 60 เมตร มอบเครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวน 5 ชุด เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม - 16 กันยายน 2553
ปีการศึกษา 2554 ได้ทำประตูเปิด-ปิด หน้าโรงเรียน จำนวน 1 ชุด โดยใช้เงินในการจัดงานโรงเรียน
ปีการศึกษา 2554 ได้รับความอนุเคราะห์ จากคุณ Mario และคุณอ้อน จัดทำห้องเก็บเครื่องกรองน้ำ พร้อมเครื่องกรองน้ำให้โรงเรียนจำนวน 1 ชุด
ปีการศึกษา 2555 ปูกระเบื้อง ห้องคอมพิวเตอร์และได้รับคอมพิวเตอร์ จำนวน 5 ชุด
ปีการศึกษา 2556สร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กในโรงเรียน งบประมาณ ก่อสร้าง 254,000
ปีการศึกษา 2557 ซ่อมแซม ฝาผนังอาคารเรียน แบบ ป1จ (2522) งบประมาณ 100,000
ปีการศึกษา 2558 ปูกระเบื้อง อาคารเรียน แบบ ป1 จ งบประมาณ 247,500
ปีการศึกษา 2558 ซ่อมแซมฝาผนังอาคารแบบ ป1 จ (เพิ่มเติมจากปี การศึกษา 2557) งบประมาณ 100,000
ปีการศึกษา 2559 จัดทำก๊าซชีวภาพ โดยไม่มีงบประมาณ
ต่อมาหมวดการศึกษาอำเภอหัวหิน เห็นว่าที่ตั้งโรงเรียนอยู่ห่างจากถนนเกินไป จึงให้โรงเรียนแลกเปลี่ยนที่ดินกับชาวบ้าน แล้วสร้างโรงเรียนขึ้นมาใหม่เป็นอาคารชั่วคราวโดยขอความร่วมมือจากศูนย์การทหารราบค่ายธนะรัชต์ปราณบุรี ขอรถมาปรับที่ดินและมีชาวบ้านร่วมด้วย 6 คันใช้เวลาในการปรับปรุงพื้นที่ 7 วัน ได้ทำพิธีเปิดอาคารใหม่ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2520 โดยมีหัวหน้าหมวดการศึกษาอำเภอหัวหินมาเป็นประธานในพิธี
เมื่อ พ.ศ. 2521 ทางราชการ ได้กำหนดให้โรงเรียนที่เปิดใหม่ต้องมีเนื้อที่อย่างน้อย 10 ไร่ขึ้นไป ผู้ใหญ่แหว่ว เอี่ยมศิริและชาวบ้านรวบรวมเงินซื้อให้อีก 3 ไร่ และได้ติดต่อกับบริษัทสัปปะรดกระป๋องไทย (ไต้หวัน)สร้างอาคารเรียนให้อีก 1 หลัง มีจำนวนห้องเรียน 4 ห้อง ตัวอาคารมีขนาดกว้าง 8.5 เมตรยาว 36 เมตรทางราชการได้ส่งนางจรรยา ส้มเขียวหวาน มาเป็นครูใหญ่แทนนายวิชัย ทองเกลี้ยง ซึ่งย้ายกลับโรงเรียนเดิม
ปี พ.ศ. 2522 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้จัดสรรงบประมาณสร้างอาคารเรียนให้ 1 หลัง 5ห้องเรียนเป็นอาคารแบบ ป.1จ ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 400,000 บาท (สี่แสนบาทถ้วน) พร้อมสร้างบ้านพักครูตามแบบขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ในวงเงิน 85,000 บาท (แปดหมื่นห้าพันบาทถ้วน)
ปี พ.ศ. 2525 นายสำเภา ประจวบเหมาะ สมาชิกสภาจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้บริจาคทรัพย์สร้างบ่อน้ำบาดาล เป็นเงิน 45,000 บาท(สี่หมื่นห้าพันบาทถ้วน)และซื้อคอนกรีต 48,250 บาท (สี่หมื่นแปดพันสองร้อยห้าสิบบาทถ้วน)
ปี พ.ศ. 2526 ได้งบประมาณจากทางราชการสร้างอาคารเอนกประสงค์ แบบ สปช. 202 / 26 เป็นเงิน 200,000 บาท(สองแสนบาทถ้วน) และส้วมแบบ สปช. 601/26 เป็นเงิน 40,000 บาท
ปี พ.ศ. 2527 ได้รับจัดสรรงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ สปช. 102 / 26 อีกหนึ่งหลัง จำนวน 2 ห้องเรียน เป็นเงิน 280,000 บาท (สองแสนแปดหมื่นบาทถ้วน)
ปี พ.ศ. 2528 ได้งบประมาณสร้างเรือนเพาะชำแบบ พ. 1 จำนวน 1 หลัง เป็นเงิน 15,000 บาท (หนึ่งหมื่นห้าพันบาทถ้วน) ปี พ.ศ. 2529 ได้งบประมาณติดตั้งไฟฟ้าโรงเรียนเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2531 ทางราชการส่งนายประยูร คล้ายจำลอง มาเป็นอาจารย์ใหญ่แทนนายนิเซะ มะกาเจ
ปี พ.ศ. 2532 กำนันแหว่ว เอี่ยมศิริ พร้อมคณะได้จัดสร้างหอถังน้ำประปาโรงเรียนตามแบบของกรมอนามัยซึ่งมีถังเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก 1 ที่
ปีพ.ศ. 2533 ได้งบประมาณสร้างถังน้ำฝน แบบ ฝ.30 พิเศษ จำนวน 1 ที่ 3 ถัง เป็นเงิน 48,500 บาท (สี่หมื่นแปดพันห้าร้อยบาทถ้วน) สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2533
เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2534 บริษัทมาเจสติค ครีกคันทรีคลับได้มาให้ความอนุเคราะห์บริจาคห้องสมุดตามโครงการห้องสมุดคิดเป็นมูลค่า 55,000 บาท (ห้าหมื่นห้าพันบาทถ้วน) ทางโรงเรียนได้ดำเนินการสร้างและได้รับมอบหมายโดยตัวแทน นายอำเภอจากบริษัทเรียบร้อยเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2538
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2536 ได้สร้างโรงเก็บรถนักเรียน โดยการนำของนางรัตนาภรณ์ เพิ่มยศ ซึ่งได้รับความอุปการะจากบริษัทเดอะมาเจสติกครีกและนางบุศรา เถาลิโป้ สร้างเตาเผาขยะบริจาคให้แก่ทางโรงเรียน 1 ที่โดยไม่ได้ใช้เงินงบประมาณของทางราชการทั้งสองรายการ นายแหว่ว เอี่ยมศิริ กำนันตำบลทับใต้และบริษัทเดอะมาเจสติกครีก นำดินมาถมสนามให้แก่ทางโรงเรียนพร้อมปรับพื้นที่ให้เรียบร้อยและใช้การได้ดี
เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2538 นายอมรรัตน์ ม่วงสกุล ได้บริจาคโรงอาหารให้ 1 หลัง เป็นคอนกรีตโครงเหล็ก เป็นเงินค่าก่อสร้าง จำนวน 100,000 บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน)
เมื่อปี 2548 โรงแรมฮิลตันได้บริจาคเงินจำนวน 115,000 บาท เพื่อสร้าง อาคารห้องสมุดให้แก่โรงเรียนจำนวน 1 หลัง และส้วม จำนวน 1 หลัง มี 3 ห้อง และทำการทาสีอาคารเรียนที่ 1 พร้อมบริจาคอาหารและเครื่องเขียนจำนวน หนึ่ง
เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2549 ชาวบ้านได้ร่วมกันจัดสร้าง โรงเก็บรถครูจำนวน 1 หลัง โดยจัดหางบประมาณมาเอง ประมาณ 10,000 บาท
ปี 2550 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนบ้านวังข่อยและชุมชนพร้อมคณะครูได้จัดสร้างโรงจอดรถให้โรงเรียน 1 หลัง เป็นเงิน 20,000 บาท
ปี 2551 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนบ้านวังข่อยและชุมชนได้จัดทอดผ้าป่าการศึกษา ได้เงินจำนวน 100,000 บาท แล้วนำเงินไปสร้างกำแพงโรงเรียนจนเสร็จเรียบร้อย
ปี 2551 องค์การบริหารส่วนตำบลทับใต้ ได้ขอห้องเรียนเพื่อเปิดศูนย์เด็กเล็ก 3 ขวบ 1 ห้องเรียน โดยส่งผู้ดูแลเด็กเล็กจำนวน 2 คน
ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนได้ปูกระเบื้องอีก 5 ห้อง คือ ห้องพยาบาล ห้อง ป.1 -3 และห้องพิเศษ โดยใช้งบประมาณในการจัดงานโรงเรียนประจำปี
ปีการศึกษา 2553 บริษัท อุตสาหกรรมสับปะรดกระป๋องไทย จำกัด โดยโครงการพัฒนาชุมชนโรงเรียนของหนูได้ให้ความอนุเคราะห์ปรับปรุงอาคารเรียนที่ 2 เปลี่ยนฝ้า เพดาน 3 ห้องเรียน ได้แก่ ห้องสื่อ ห้องเรียนแหล่งเรียนรู้ห้องคอมพิวเตอร์ จำนวน ตารางเมตร (เหมาค่าแรงและค่าอุปกรณ์ ทาสีฝ้า สีขาวจำนวน 162 ตารางเมตร เปลี่ยนรางน้ำฝนความยาว 60 เมตร มอบเครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวน 5 ชุด เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม - 16 กันยายน 2553
ปีการศึกษา 2554 ได้ทำประตูเปิด-ปิด หน้าโรงเรียน จำนวน 1 ชุด โดยใช้เงินในการจัดงานโรงเรียน
ปีการศึกษา 2554 ได้รับความอนุเคราะห์ จากคุณ Mario และคุณอ้อน จัดทำห้องเก็บเครื่องกรองน้ำ พร้อมเครื่องกรองน้ำให้โรงเรียนจำนวน 1 ชุด
ปีการศึกษา 2555 ปูกระเบื้อง ห้องคอมพิวเตอร์และได้รับคอมพิวเตอร์ จำนวน 5 ชุด
ปีการศึกษา 2556สร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กในโรงเรียน งบประมาณ ก่อสร้าง 254,000
ปีการศึกษา 2557 ซ่อมแซม ฝาผนังอาคารเรียน แบบ ป1จ (2522) งบประมาณ 100,000
ปีการศึกษา 2558 ปูกระเบื้อง อาคารเรียน แบบ ป1 จ งบประมาณ 247,500
ปีการศึกษา 2558 ซ่อมแซมฝาผนังอาคารแบบ ป1 จ (เพิ่มเติมจากปี การศึกษา 2557) งบประมาณ 100,000
ปีการศึกษา 2559 จัดทำก๊าซชีวภาพ โดยไม่มีงบประมาณ
วิสัยทัศน์
พันธกิจ
1. เพื่อให้โรงเรียน มีสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนมีบรรยากาศที่ดีเหมาะสม เอื้อต่อการจัดกระบวนการเรียนรู้
2. เพื่อให้นักเรียนได้รับการพัฒนาให้มีคุณธรรม จริยธรรม และได้รับการปลูกฝังให้มีจิตสำนึกความเป็นไทย
3. เพื่อพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสื่อการเรียนการสอน
4. เพื่อพัฒนายกระดับมาตรฐานการศึกษา และผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาให้สูงขึ้น
5. เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมให้มีประสิทธิภาพ โดยยึดหลักธรรมาภิบาล และการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์
6. เพื่อให้นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง
เป้าประสงค์
1. สถานศึกษาพัฒนาแหล่งเรียนรู้ และสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
2. ผู้เรียนเป็นผู้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา เป็นคนเก่ง คนดี มีความสุข มีความรู้มีคุณธรรม จริยธรรม มีความรับผิดชอบ ต่อตนเองและสังคม บนพื้นฐานความเป็นไทย น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การดำรงชีวิต
3. สถานศึกษามีหลักสูตรสถานศึกษาที่ส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการ ตอบสนองความถนัดและความต้องการของผู้เรียน ชุมชน และสังคม
4. สถานศึกษามีระบบการบริหารจัดการที่ดี โดยเน้นการกระจายอำนาจ และการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา บุคลากรภายในโรงเรียน ชุมชน และทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษาโดยโดยยึดหลักธรรมาภิบาล