ข้อมูลทั่วไป

คำขวัญ

ประพฤติดี มีความรู้ สู้งาน ประสานชุมชน

ประวัติโรงเรียน

- โรงเรียนท่าขอนยางพิทยาคม ตั้งอยู่ที่โคกสาธารณะหนองไผ่ ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม

- มีเนื้อที่ ๔๙ ไร่ ๑ งาน ๗๐ ตารางวา

- เดิมเป็นโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

- ประกาศจัดตั้งเมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๓๘

- รับนักเรียนในพื้นที่บริการตำบลท่าขอนยาง ตำบลขามเรียง และตำบลใกล้เคียง

- ต่อมาได้เปลี่ยนสังกัดเขตพื้นที่การศึกยามหาสารคาม เขต ๑ สำนักงานคณะกรรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๔๖

ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.๒๕๔๖

- เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕- ได้เปลี่ยนมาสังกัดกองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๒

- เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ถึง ๖

- จำนวน ๒๔ ห้องเรียน

- จำนวนบุคลากร

- ฝ่ายบริหาร ๓ คน

- ครู ๕๑ คน

- ผู้ช่วยครู ๓ คน

- พนักงานสนับสนุนการสอน ๒ คน

- ยาม ๑ คน

- พนักงานขับรถยนต์ ๑ คน

- นักการภารโรง ๒ คน


วิสัยทัศน์

โรงเรียนท่าขอนยางพิทยาคมมุ่งพัฒนาสู่มาตรฐานสากล ด้านดนตรี กีฬา วิชาการ เชี่ยวชาญเทคโนโลยี ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

พันธกิจ

๑. พัฒนาผู้เรียน ให้มีคุณภาพตมมาตรฐานการศึกษา โดยเน้นกระบวนการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลที่หลากหลายอย่างมีคุณภาพ เอื้อต่อการพัฒนาผู้เรียนอย่างรอบด้าน

๒. ส่งสริมครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ ความสามารถ มีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ

๓. พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา เพื่อสนองต่อความแตกต่างระหว่างบุคคล ให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานสากล

๔. พัฒนาสื่อเทคโนโลยี นวัตกรรมทางการศึกษา และใช้งานวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา

๕. ส่งเสริมให้ผู้เรียนน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ ผ่านเครือข่ายศูนย์การเรียนรู้

๖. ส่งเสริมให้ผู้เรียนอนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรมของชุมชน โดยให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม


เป้าประสงค์

๑. ผู้เรียนเป็นผู้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา เป็นคนเก่ง คนดี มีความสุข มีความรู้ ความสามารถตามมาตรฐานสากล

๒. ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาศักยภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ และสามารถจัดการเรียนการสอนตามมาตรฐานสากล

๓. โรงเรียนมีหลักสูตรสถานศึกษาที่ส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการตามมาตรฐานสากล ตอบสนองความถนัด และความต้องการของผู้เรียน ชุมชนและสังคม

๔. โรงเรียนพัฒนาสื่อเทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการศึกษา ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูใช้งานวิจัยพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพ

๕. โรงเรียนมีการวัดและประเมินผลที่มีคุณภาพ ที่เอื้อต่อการพัฒนาผู้เรียนอย่างรอบด้าน

๖.  โรงเรียนส่งเสริมให้ผู้เรียนน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ ผ่านเครือข่ายศูนย์การเรียนรู้

๗. โรงเรียนส่งเสริมให้ผู้เรียนอนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรมของชุมชน โดยให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม