หลักสูตรฐานสมรรถนะ
หลักสูตรฐานสมรรถนะ คือหลักสูตรที่เน้นการวัดผล แบบสมรรถนะ
แทนการท่องจำเนื้อหา เพียงเพื่อนำมาสอบ เดิม วัดผลจากการจำความรู้ แต่ฐานสมรรถนะ วัดผลจากการนำความรู้มาใช้งาน ที่นำมาใช้แทนที่หลักสูตรในปัจจุบัน
ฐานคิดของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน (หลักสูตรฐานสมรรถนะ)
1. ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนรายบุคคล (Personalization) การเป็นเจ้าของการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
2. พัฒนาให้ผู้เรียนเกิดสุขภาวะ (Well-being) ทั้งในด้านสุขภาพ ความฉลาดรู้ สังคมและอารมณ์อย่างสมดุล รอบด้านและเป็นองค์รวม โดยยึดหลักความเสมอภาค
3. พัฒนาสมรรถนะที่จำเป็นเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต การแก้ปัญหา ในสถานการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน และการสร้างประโยชน์ต่อสังคม
4. พัฒนาผู้เรียนให้รู้เท่าทันและสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมและความก้าวหน้าทางวิทยาการ
คำอธิบายแผนภาพ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานหลักสูตรกำหนดสมรรถนะหลัก (Core Competency) ไว้ 6 ประการ เพื่อเป็นเป้าหมายในการพัฒนาความสามารถที่จำเป็นของผู้เรียนต่อการใช้ชีวิตในปัจจุบันและอนาคต นิยามและองค์ประกอบของ 6 สมรรถนะที่เด็กไทยควรมีในการปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน หลักสูตรฐานสมรรถนะ วัดผลจากสมรรถนะทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ > คลิก
1. สมรรถนะการจัดการตนเอง
2. สมรรถนะการสื่อสาร
3. สมรรถนะการรวมพลังทำงานเป็นทีม
4. สมรรถนะการคิดขั้นสูง และ
5. สมรรถนะการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง
6. การอยู่ร่วมกับธรรมชาติและวิทยาการอย่างยั่งยืน
(ข้อ 6 เพิ่มเข้ามาจากเดิม เพื่อให้เด็กไทยมีสมรรถนะทั้งด้านวิทยาศาสตร์ รู้เท่าทันเทคโนโลยีดิจิทัล และอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างยั่งยืน)
(คลิป) กรอบ 6 ด้าน หลักสูตรฐานสมรรถนะ > คลิก
สมรรถนะทั้ง 6 ด้าน จะได้รับการพัฒนาผ่านขอบข่ายการเรียนรู้ (Learning Area) 5 ด้าน เพื่อบูรณาการหัวข้อการเรียนรู้ข้ามศาสตร์ให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาและแสดงความสามารถผ่านมุมมองต่าง ๆ ได้แก่
1. ขอบข่ายการเรียนรู้ด้านสุขภาวะกายและจิต
2. ขอบข่ายการเรียนรู้ด้านภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม
3. ขอบข่ายการเรียนรู้ด้านโลกของงานและการประกอบอาชีพ
4. ขอบข่ายการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ
5. ขอบข่ายการเรียนรู้ด้านสังคมและความเป็นมนุษย์
ทั้งสมรรถนะและขอบข่ายการเรียนรู้ถูกออกแบบและพัฒนาบนรากฐานสุขภาวะ (WelL being Foundation) 4 ด้าน ซึ่งสถานศึกษาจะต้องสร้างบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สิ่งแวดล้อม และกลไกการบริหารสถานศึกษาให้เอื้อต่อการพัฒนา ได้แก่
1. รากฐานด้านสุขภาพกายและจิต
2. รากฐานด้านสังคมและ อารมณ์
3. รากฐานด้านความฉลาดรู้ (Literacy, Numeracy, Digital Literacy)
4. รากฐานด้านคุณธรรมและจริยธรรม
แชร์หน้านี้