ข้อมูลทั่วไป
คำขวัญ
"มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ ชูวัฒนธรรม"
ประวัติโรงเรียน
1. ข้อมูลทั่วไป
โรงเรียนสหกรณ์ดำริ ตั้งอยู่ หมู่ที่ 7 ตำบลน้ำแพร่ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ รหัสไปรษณีย์
50190 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 e-mail dr2014phrao@ gmail.com
ปี พ.ศ. 2517 นายสอน บุญเกต
หัวหน้าหน่วยสหกรณ์นิคมอำเภอพร้าว ได้จัดสรรที่ดินให้จำนวน 17 ไร่
1 งาน 26 ตารางวาและ
ผู้ปกครองนักเรียนได้พร้อมใจกันสร้างอาคารชั่วคราวขึ้น 1 หลังสำเร็จเมื่อวันที่ 10
พฤษภาคม 2517 เปิดทำการสอนเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2517 มีครูทำการสอน 2 คน
จำนวนนักเรียน 50 คน เปิดทำการสอนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ปี พ.ศ.
2520 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ ป.1 ก ตึกจำนวน 4 ห้องเรียน
งบประมาณ 240,000 บาท
ปี พ.ศ. 2527 ได้รับเงินงบประมาณ
จำนวน 26,250 บาท ให้จัดสร้างส้วมแบบ สปช 601/26
จำนวน 1 หลัง ขนาด 3 ห้อง
ปี พ.ศ. 2536
ได้เข้าร่วมโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษารวมศูนย์โรงเรียนร่วมกับโรงเรียนบ้านน้ำแพร่
ตั้งแต่ชั้นอนุบาล 1
ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่
6
ปี พ.ศ.2537
โรงเรียนได้ขยายชั้นเรียนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา
ปี พ.ศ.2540 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ สปช 105/29 จำนวน 4 ห้องเรียนงบประมาณ 1,690,000 บาท
ปี พ.ศ.2541 ได้รับงบประมาณต่อเติมชั้นล่างจำนวน 4
ห้องเรียนใช้งบประมาณทั้งสิ้น 363,000 บาท
ปี พ.ศ.2542 ได้รับงบประมาณสร้างส้วมแบบ สปช 60/26 จำนวน 1
หลัง ขนาด 2 ห้อง ใช้งบประมาณ 55,000 บาท
ปี 2543 ได้พัฒนาคุณภาพการศึกษา
โดยเปิดสอนแบบรวมศูนย์โดยมีโรงเรียนสหกรณ์ดำริเป็นโรงเรียนหลัก
มีโรงเรียนบ้านน้ำแพร่และโรงเรียนบ้านป่าอ้อ เป็นโรงเรียนที่มารวม
ปี 2546
โรงเรียนบ้านน้ำแพร่ได้ยุบรวมกับโรงเรียนสหกรณ์ดำริ
แต่โรงเรียนบ้านป่าอ้อเป็นโรงเรียนสาขาเหมือนเดิม และในปีการศึกษานี้ทางโรงเรียนได้รับงบประมาณสร้างส้วมแบบ
สปช 601/26 จำนวน 1 หลัง ขนาด 4 ห้อง ใช้งบประมาณ 90,900 บาท
ปี 2550
มีคำสั่งให้โรงเรียนสามัคคีวิทยาเป็นสาขาของโรงเรียนสหกรณ์ดำริและได้ย้ายนักเรียนเข้าทะเบียนเป็นนักเรียนโรงเรียนสหกรณ์ดำริ
และในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 ได้ย้ายนักเรียนโรงเรียนบ้านป่าอ้อชั้น ป.4-ป.6
มาเข้าทะเบียนเป็นนักเรียนโรงเรียนสหกรณ์ดำริ เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนครู
ปัจจุบัน
โรงเรียนสหกรณ์ดำริเปิดทำการสอนระดับประถมศึกษา ป.1-ป.6 และระดับมัธยมศึกษา
ม.1-ม.3 มีเขตพื้นที่บริการ 8 หมู่บ้าน คือ หมู่ 1 บ้านหนองปลามัน, หมู่ 2 บ้านป่างิ้ว, หมู่ 3 บ้านสันขวาง, หมู่ 4
บ้านน้ำแพร่, หมู่ 5 บ้านโล๊ะป่าตอง, หมู่ 6 บ้านแม่ละง่อง, หมู่ 7 บ้านสหกรณ์ดำริ
และหมู่ 8 บ้านป่าอ้อ มีข้าราชการครูทั้งสิ้น 6
คน พนักงานราชการ 1 คน ครูอัตราจ้าง 2 คน
เจ้าหน้าที่ธุรการ 1 คน ลูกจ้างประจำ 1 คน นักเรียนรวมทั้งสิ้น 112 คน โดยมีนายแสงชัย ภิรารักษ์ เป็นผู้อำนวยการสถานศึกษา
ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 จนถึงปัจจุบัน
วิสัยทัศน์
“สร้างคุณภาพทุนมนุษย์ สู่สังคมอนาคตที่ยั่งยืน”
พันธกิจ
2. พัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถความเป็นเลิศทางวิชาการเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน
3.
พัฒนาศักยภาพและคุณภาพผู้เรียนให้มีสมรรถนะตามหลักสูตรและคุณลักษณะในศตวรรษที่ 21
4. สร้างโอกาส ความเสมอภาค
ลดความเหลื่อมล้ำ
ให้ผู้เรียนทุกคนได้รับบริการทางการศึกษาอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
5. พัฒนาผู้บริหาร ครู
และบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นมืออาชีพ
6. จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs)
7. พัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษาทุกระดับ และจัดการศึกษาโดยใช้ เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology)
เพื่อพัฒนามุ่งสู่ Thailand 4.0
เป้าประสงค์
เป้าหมาย
1. ผู้เรียนมีความรักในสถาบันหลักของชาติ
และยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง มีหลักคิดที่ถูกต้อง และเป็นพลเมืองดีของชาติ
มีคุณธรรม จริยธรรม มีค่านิยมที่พึงประสงค์ มีจิตสาธารณะ
รับผิดชอบต่อสังคมและผู้อื่น ซื่อสัตย์ สุจริต มัธยัสถ์ อดออม โอบอ้อมอารี มีวินัย
รักษาศีลธรรม
2. ผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์
คณิตศาสตร์ ศิลปะ ดนตรี กีฬา ภาษา และอื่น ๆ ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มตามศักยภาพ
3.
ผู้เรียน เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ คิดริเริ่มและสร้างสรรค์นวัตกรรม มีความรู้ มีทักษะ
มีสมรรถนะตามหลักสูตร และคุณลักษณะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21
มีสุขภาวะที่เหมาะสมตามวัย มีความสามารถในการพึ่งพาตนเอง
ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการเป็นพลเมือง พลโลกที่ดี (Global Citizen) พร้อมก้าวสู่สากล
นำไปสู่การสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
4.
ผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ (ผู้พิการ) กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มผู้ด้อยโอกาสและกลุ่มที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร
ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง เท่าเทียม และมีคุณภาพ
5. ผู้บริหาร
ครู และบุคลากรทางการศึกษาเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีความรู้และจรรยาบรรณ
ตามมาตรฐานวิชาชีพ
6. สถานศึกษาจัดการศึกษาเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
(Sustainable Development Goals: SDGs) และสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
7. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา มีสมดุลในการบริหารจัดการเชิงบูรณาการ
มีการกำกับ ติดตาม ประเมินผล มีระบบข้อมูลสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ
และการรายงานผลอย่างเป็นระบบ ใช้งานวิจัย
เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษา