ประวัติโรงเรียน
ประวัติโรงเรียน
ประวัติโดยย่อ
โรงเรียนรางราชพฤกษ์นุชมีอุทิศ เดิมเป็นโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม เรียกกันทั่วไปว่า โรงเรียนโต๊ะลาเต๊ะ ตามชื่อของผู้ก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราว คือนายโต๊ะลาเต๊ะ การีมี
นายสอน อุ่นสมบูรณ์
นายอับดุลรามัญ หวานประเสริฐ นายสวัสดิ์
เฟื่องปัญญา
เป็นผู้ร่วมมือกันก่อสร้างโรงเรียน
โดยนายโต๊ะมะ นางเยาะ นุชมี
เป็นผู้บริจาคที่ดินให้จำนวน
2 ไร่ ต่อมาเห็นว่า
พื้นที่ตั้งของโรงเรียนนั้นน้อยไป นางเยาะ นุชมี
จึงบริจาคที่ดินเพิ่มให้อีกจำนวน
2 ไร่ รวมเป็นที่ดินทั้งสิ้นจำนวน 4
ไร่ และเปิดทำ การสอนครั้งแรก เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม
พ.ศ. 2478 โดยใช้ชื่อโรงเรียนว่า โรงเรียนประชาบาลตำบลทุ่งครุ 3 ต่อมา เมื่อปี พ.ศ. 2519
ได้เปลี่ยนตามชื่อคลองที่อยู่ด้านข้างโรงเรียนเป็นโรงเรียนรางราชพฤกษ์ และในปี พ.ศ.
2526
ได้มีการเพิ่มชื่อต่อท้ายอีกเป็น
โรงเรียนรางราชพฤกษ์นุชมีอุทิศ จนถึงปัจจุบันนี้ เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่นายอรุณ นุชมี
อดีตครูใหญ่โรงเรียนรางราชพฤกษ์นุชมีอุทิศ ซึ่งท่านเป็นทายาทตระกูลนุชมี
ที่ได้บริจาคที่ดินให้กับโรงเรียน
จำนวน 4 ไร่
นักเรียนและผู้ปกครองร้อยละ 51.77
นับถือศาสนาอิสลามนอกนั้นนับถือพุทธศาสนา
ซึ่งส่วนใหญ่มีฐานะยากจน
เดิมประกอบอาชีพในการทำสวนส้ม แต่ปัจจุบันต้องปล่อยให้สวนรกร้างไปเนื่องจากสภาพปัญหาของน้ำ
มีรสชาติเค็มและกร่อยที่หนุนเข้ามาเป็นบางช่วงซึ่งมีผลกระทบต่อเกษตรกรเป็นอย่างยิ่ง จึงหันมาประกอบอาชีพอื่น ๆ คือ รับจ้าง
เลี้ยงวัว และควาย ทำบ่อกุ้งและปลา เลี้ยงแพะ นกกระจอกเทศ นอกนั้นจะเป็นลูกจ้างโรงงานและภาคราชการ
วิสัยทัศน์
มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนมีนิสัยใฝ่เรียนรู้
รักษ์สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรในท้องถิ่น
ปฏิบัติตนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีมารยาทดี มีวินัย โดยใช้แนวทางวิถีพุทธ วิถีธรรม ใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้
เข้าสู่อาเซียนและสากล สามารถดำรงตนอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
พันธกิจ
๑. จัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีคุณธรรมนำความรู้ ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีสำนึกในความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รักวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
๒. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีนิสัยรักการอ่าน ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
๓. พัฒนานักเรียนให้มีความรู้พื้นฐานตามหลักสูตร 8 กลุ่มสาระ ใช้ภาษาและเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
๔. จัดกิจกรรมสนับสนุน ให้นักเรียนมีระเบียบวินัย มีคุณธรรม
จริยธรรม
๕. ปลูกฝังให้นักเรียนตระหนักถึง การอนุรักษ์ธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม
๖. จัดอาคารสถานที่ห้องปฏิบัติการเรียนการสอน บรรยากาศในห้องเรียน
และสภาพแวดล้อมให้เอื้อ ต่อการจัดการเรียนการสอน
๗. จัดกิจกรรมให้นักเรียนรู้จักรักษาสุขภาพอนามัย
รู้จักหลีกเลี่ยงสิ่งเสพติดและอบายมุข
๘.
พัฒนามาตรฐานวิชาชีพครูและบุคลากร ให้เป็นไปตามมาตรฐานและการประกันคุณภาพ การศึกษา
๙.ส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการระดมทรัพยากรท้องถิ่นเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ตามแนวทางวิสัยทัศน์และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เป้าประสงค์
๑. นักเรียนร้อยละ 80 เป็นคนมีคุณธรรมนำความรู้ ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิฐพอเพียง
๒. นักเรียนร้อยละ 80 มีสำนึกในความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รักชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่น
๓. นักเรียนร้อยละ 80 มีทักษะในการใช้ภาษาในการสื่อสาร มีคุณภาพทางวิชาการตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นฐาน
๔. นักเรียนร้อยละ 80 มีสุขภาพกายและจิตที่ดี มีทักษะในการดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
๕. นักเรียนร้อยละ 80 รู้จักการอนุรักษ์ธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม
๖. ครูร้อยละ 80 สามารถพัฒนามาตรฐานวิชาชีพและมาตรฐานวิทยฐานะ ตรงตามมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษา
๗. ชุมชน องค์กรเอกชน ร้อยละ 80 มีบทบาทในการมีส่วนร่วมระดมทรัพยากรท้องถิ่นเพื่อพัฒนาคุณภาพ ผู้เรียนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง