ข้อมูลทั่วไป
คำขวัญ
ความรู้ดี มีคุณธรรม น้อมนำศาสนา
ประวัติโรงเรียน
ข้อมูลพื้นฐาน
1.
ข้อมูลทั่วไป
โรงเรียนบ้านหนองน้ำกลัด ตั้งอยู่เลขที่ 1 หมู่ที่ 4 ตำบลไร่เก่า อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์
เขต 2 สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
โทร : 0-3260-2972
, E-Mail : sc_nongnumglud@thaimail.com
เปิดสอนระดับชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
มีพื้นที่ทั้งหมด 6 ไร่ 3 งาน 7 ตารางวา
ประวัติโรงเรียนโดยย่อ
โรงเรียนบ้านหนองน้ำกลัด
เป็นโรงเรียนประเภทนายอำเภอจัดตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2500 โดยที่ดินของนายอยู่ สมีหวัง เป็นผู้ยกให้
อาคารเรียนเป็นอาคารเรียนชั่วคราว หลังคามุงจาก
ต่อมาในปีการศึกษา 2506 ได้ย้ายมาตั้งตรงที่ดินของนายลิน
ยิ้มกา โดยนายลิน ยิ้มกา
และนายจรูญ บาระเฮ็ม เป็นผู้ยกให้ มีเนื้อที่ 5 ไร่ 2
งาน และได้รับงบประมาณ 3,000 บาท เพื่อซื้อสังกะสีส่วนค่าแรงงานและไม้
ประชาชนบริจาคเป็นเงิน 15,000 บาท มีขนาด 9 x 18 เมตร
ในปี 2547
คณะครูและคณะกรรมการสถานศึกษาพร้อมทั้งประชาชนได้สละเงินซื้อไม้ยางมาตีฝาคิดเป็นเงิน
2,500 บาท
ปี 2508
ทางโรงเรียนได้จัดทำโต๊ะเรียนขึ้นอีก 10 ชุด และได้รับมาจากอำเภออีก 5 ชุด
ปี 2510 ทางโรงเรียนได้รับกระดานดำ 1
แผ่น โต๊ะเรียน 5 ชุด
ปี 2511 ทางโรงเรียนได้ทำกระดานดำ 1
แผ่น โต๊ะเรียน 5 ชุดและสภาตำบลได้จัดงบประมาณให้ 3,000 บาท
ทำประตูหน้าต่างและรางน้ำ
ปี 2513
ทางโรงเรียนได้รับงบประมาณทำพื้นคอนกรีตเป็นเงิน 7,000 บาท และได้ทำส้วม 2 ห้อง
ปี 2515 จัดทำเสาธง ใช้งบประมาณ 1,200
บาท
ปี 2517 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารใหม่
แบบ ป.1จ. งบประมาณ 100,000 บาท และบ้านพักครู 1 หลัง เงิน 30,000 บาท ร.พ.ช.
หน่วยขอนแก่นได้มาเจาะบ่อบาดาลให้อีก 1 บ่อ
ปี 2518 นายสุทัศน์ คล้ายแก้ว
ครูใหญ่โรงเรียนนี้ได้ย้ายไปเป็นครูใหญ่โทที่โรงเรียนบ้านไร่เก่า
และนายสมศักดิ์ เทียมพันธ์
ครูโรงเรียนบ้านไร่เก่าได้ย้ายมาเป็นครูใหญ่โทแทนได้จัดสร้างรั้วชั่วคราวทั้ง 3 ด้านและรั้วปูนถาวรด้านหน้าโรงเรียนโดยประชาชนและคณะครูร่วมกันบริจาคเป็นเงินประมาณ
20,000 บาท จัดสร้างจนสำเร็จ
ปี 2519 นายสมบัติ ชิวปรีชา ครูโรงเรียนนี้ ได้ลาไปศึกษาต่อ ณ
วิทยาลัยครูเพชรบุรี เพื่อศึกษาต่อ
ป.กศ.สูง
เป็นเวลา 2 ปี นายสมชัย นามสิน ได้ย้ายมาจากโรงเรียนบ้านหนองข้าวเหนียว
ดำรงตำแหน่งครูที่โรงเรียนนี้
โรงเรียนได้รับกระดานดำขาตั้ง 1 แผ่นและได้จัดซื้อ
และรับบริจาคม้าหินอ่อนจำนวน 15 ตัว คิดเป็นเงิน 2,250 บาท
ปี 2520 โรงเรียนได้รับงบประมาณจำนวน
10,000 บาท จากกรมอนามัย เพื่อจัดสร้างท่อประปา น้ำฝนจำนวน 6 ถัง
และโรงเรียนได้หาเพิ่มเติมอีกเป็นเงิน 5,000 บาท เพื่อสบทบในการก่อสร้าง
และได้ของบประมาณจากสุขาภิบาลจัดทำรางน้ำในอาคาร ป.1จ. เป็นเงิน 7,500 บาท
ปี 2521
โรงเรียนได้รับตัวนางสาวบุญเลี่ยม หลีหลาย จากโรงเรียนบ้านหนองเป่าปี่ อ. ปราณบุรี
และได้ย้ายมาอยู่โรงเรียนนี้เมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 2521 วันที่ 22 มิ.ย.2521
นายจารึก อินทวัฒน์ วุฒิ ป.กศ.สูง
และนางสาวเทพินทร์
นามสิน วุฒิ ป.กศ.สูงเข้าเป็นครูโรงเรียนนี้รวมทั้งนายสมบัติ
ชิวปรีชาได้สำเร็จป.กศ.สูงก็ได้เริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่ 22 พ.ค. 2521
เป็นต้นไป
วิสัยทัศน์
ภายในปี ๒๕๖๔ โรงเรียนบ้านหนองน้ำกลัด ยกระดับคุณภาพการศึกษา พัฒนาสู่มาตรฐาน ผู้เรียนพากเพียรในความดี ถือประเพณีที่งดงามตามหลักศาสนา นำพาคุณธรรม น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืน
พันธกิจ
เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์การจัดการศึกษา
จึงกำหนดภารกิจที่ต้องดำเนินการดังนี้
๑. จัดการศึกษาในระดับก่อนประถมและการศึกษาขั้นพื้นฐาน
6 ปี ให้กับประชากรวัยเรียน
๒.
จัดการศึกษาที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานโดยยึดหลักความร่วมมือของชุมชนและจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น
ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข
๓. สนับสนุนและร่วมมือกับหน่วยงานรวมทั้งองค์กรต่าง
ๆ ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน
๔.จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นมารยาท
คุณธรรม จริยธรรม และเน้นคุณค่าของการทำความดี
และส่งเสริมความสามารถของนักเรียนแต่ละบุคคล
เป้าประสงค์
๑.
นักเรียนมีความรู้ตามมาตรฐานการศึกษาอย่างทั่วถึงและตามเต็มศักยภาพ
๒. นักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และมีค่านิยมที่ดี
มีความเป็นไทย
๓. โรงเรียนพัฒนาแหล่งเรียนรู้
และสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
๔. ระบบบริหารจัดการของโรงเรียนมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
๕. โรงเรียนมีหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ
และใช้เทคโนโลยีทันสมัย
๖.
นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ความสามารถทางวิชาการอย่างมืออาชีพ
และดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
๓. โรงเรียนพัฒนาแหล่งเรียนรู้ และสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
๕. โรงเรียนมีหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ และใช้เทคโนโลยีทันสมัย
๖. นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ความสามารถทางวิชาการอย่างมืออาชีพ และดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง