ข้อมูลทั่วไป

ประวัติโรงเรียน

โรงเรียนบ้านนาอุ่นน่อง (ประชารัฐวิทยาคาร) ตั้งอยู่ที่บ้านน่าอุ่นน่องเลขที่ 169 หมู่ที่ 6 ตำบลหัวทุ่ง อำเภอลอง จังหวัดแพร่  เดิมในหมู่บ้านไม่มีโรงเรียนเด็ก ๆ ในหมู่บ้านต้องไปอาศัยเรียนที่โรงเรียนบ้านนาตุ้ม หมู่ที่ 7 ตำบลหัวทุ่ง อำเภอลอง จังหวัดแพร่ ต่อมาในวันที่ 1 มกราคม 2490  ทางราชการได้อนุญาตให้หมู่บ้านนาอุ่นน่อง เป็นสาขาของโรงเรียนบ้านนาตุ้ม   ในปี  พ.ศ. 2491  นายจู  จำปาแก้ว  ผู้ใหญ่บ้านนาอุ่นน่อง พร้อมราษฎรในหมู่บ้านได้สร้างอาคารเรียนชั่วคราวขึ้น   1 หลัง ขนาดกว้าง 6 เมตร ยาว 18 เมตร แบ่งออกเป็น 3 ห้องเรียน สร้างด้วยไม้มุงหลังคาด้วยหญ้าคา  ฝาสานด้วย  ไม้ไผ่  อาศัยเรียนกับพื้นดิน  สำหรับที่ดินก่อสร้างนั้น นายจู  จำปาแก้ว เป็นผู้มอบให้แก่โรงเรียนมีพื้นที่ประมาณ  18 ไร่ เศษ 

ที่ตั้งของโรงเรียนในปัจจุบันนี้มีพื้นที่ประมาณ 60 ไร่  มีอาณาเขตติดต่อดังนี้

ทิศเหนือ               ติดต่อกับป่าและที่สาธารณะประโยชน์

ทิศใต้                  ติดต่อกับถนนสายลอง-วังชิ้น

ทิศตะวันออก        ติดสุสานโป่งแก บ้านหัวทุ่ง หมู่ที่ 8  ตำบลหัวทุ่ง อำเภอลอง จังหวัดแพร่

ทิศตะวันตก          ติดกับทุ่งนาและป่าไม้


วิสัยทัศน์

โรงเรียนบ้านนาอุ่นน่อง(ประชารัฐวิทยาคาร) จัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน มีคุณธรรมนำความรู้คู่หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี มีความเป็นไทย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม

พันธกิจ

1. พัฒนาระบบบริหารจัดการที่เน้นการมีส่วนร่วม เพื่อเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อคุณภาพการศึกษาโดยยึดหลักธรรมาภิบาล

2. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้มุ่งสู่ความเป็นครูมืออาชีพ

3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาและมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาโดยเน้นคุณธรรมนำความรู้ ควบคู่หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

4. ส่งเสริมให้ผู้เรียนอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น

5. ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการศึกษาและเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอน

เป้าประสงค์

1. สถานศึกษามีระบบการบริหารที่ดี ใช้หลักธรรมาภิบาล สร้างเครือข่ายชุมชน

2. ครูและบุคลากรทางการศึกษามีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพและเป็นบุคลากรมืออาชีพ

3. ผู้เรียนได้พัฒนาและมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา โดยเน้นคุณธรรมนำความรู้ควบคู่หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

4. ผู้เรียนอนุรักษ์สืบสานศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น และความเป็นไทย

5. โรงเรียนนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารและการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ