ข้อมูลทั่วไป
คำขวัญ
เรียนเด่น เล่นดี มีวินัย ใฝ่พัฒนา
ประวัติโรงเรียน
ประวัติโรงเรียนโดยย่อ
โรงเรียนบ้านเหล่าพัฒนาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ
กระทรวงศึกษาธิการ ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.
2482 ในเขตพื้นที่ หมู่ที่
5 ตำบลเหล่าพัฒนา อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม ซึ่งเดิมเป็นหมู่บ้านหนึ่งขึ้นกับตำบลบ้านเสียว
อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม
เมื่อแรกก่อตั้งโรงเรียน โดยอาศัยศาลาการเปรียญวัดสิริมงคล บ้านเหล่าพัฒนา เป็นที่เปิดทำการสอน ใช้ชื่อโรงเรียนว่า
“โรงเรียนประชาบาลตำบลบ้านเสียว 5 (วัดบ้านเหล่าฯ) ” เปิดรับนักเรียนจาก
2
หมู่บ้านเข้าเรียนคือ นักเรียนจากบ้านเหล่าพัฒนาและบ้านหนองดุด
มีนักเรียนเมื่อแรกเปิด 110 คน
ครู 2 คน เปิดสอนจาก ป.1–ป.4 โดย มีนายไสย วะเกิดเป้ม
เป็นครูใหญ่คนแรก
ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2496 ชาวบ้านได้บริจาคที่ดิน เนื้อที่
9 ไร่ ให้ตั้งโรงเรียน โดยการนำของนายเสาร์ ท้าวนาง
ครูใหญ่ และได้ช่วยกันจัดหาทุนทรัพย์ ร่วมกับชาวบ้านสร้างอาคารให้เป็นเอกเทศ ขนาดกว้าง
8.50 เมตร ยาว 18
เมตร จำนวน 1 หลังและในการก่อสร้างอาคารหลังนี้
ได้งบประมาณสนับสนุนจากทางราชการเล็กน้อยคือ 1,000 บาท (หนึ่งพันบาทถ้วน ) เพื่อจัดซื้อสังกะสีมุงหลังคา
เมื่อทำการก่อสร้างอาคารเรียนเสร็จแล้วได้ย้ายที่เรียนจากศาลาวัด มาเรียนที่อาคารหลังใหม่ แล้วเปลี่ยนชื่อโรงเรียนว่า “ โรงเรียนบ้านเหล่าหนองดุด ” จนกระทั่ง พ.ศ.
2509 ชาวบ้านหนองดุดโดยการนำของนายยงยาร สารคำ ครูใหญ่โรงเรียนบ้านเหล่าพัฒนา
ที่มีภูมิลำเนาที่บ้านหนองดุด ได้ขอแยกนักเรียนไปเรียนที่โรงเรียนบ้านหนองดุดที่ตั้งขึ้นใหม่ นายสิทธิศักดิ์ คะสุดใจ
ครูใหญ่โรงเรียนบ้านเหล่าพัฒนาขณะนั้น จึงได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนใหม่ว่า “ โรงเรียนบ้านเหล่าพัฒนา
” ซึ่งทางราชการได้อนุญาต
ให้ใช้ชื่อนี้ตั้งแต่ ปี พ.ศ.
2512 จนถึงปัจจุบัน
วิสัยทัศน์
องค์กรแห่งการเรียนรู้ มุ่งสู่คุณภาพผู้เรียน และดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
พันธกิจ
๑. พัฒนาหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
๒. พัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสู่โรงเรียนมาตรฐาน
๓. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาสู่มาตรฐาน
๔. พัฒนาคุณภาพผู้เรียน ให้เป็นคนดี คนเก่ง มีความสุข
มีทักษะในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง
๕. พัฒนาอาคารสถานที่ให้มีความร่มรื่นสวยงาม น่าอยู่น่าเรียน มีความปลอดภัย
เอื้อต่อการจัดกิจกรรม
การเรียนการสอน
เป็นแหล่งเรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจ
๖. จัดให้มีวัสดุ อุปกรณ์
สื่อการเรียนการสอนเทคโนโลยี และแหล่งเรียนรู้ ที่เอื้อต่อการจัดการเรียน
การสอนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
๗. ส่งเสริมให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของโรงเรียน
เป้าประสงค์
๑. โรงเรียนมีหลักสูตรและการสอนที่มีคุณภาพมาตรฐาน
๒. พัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในอย่างมีคุณภาพมาตรฐาน
๓. ครูและบุคลากรทางการศึกษาปฏิบัติงานได้ตามมาตรฐานที่กำหนด
๔. ครูสามารถจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างมีคุณภาพ
๕. ผู้เรียน เป็นคนดี คนเก่ง มีความสุข มีทักษะในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
๖. ผู้เรียนเป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่เรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
๗. ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มีความภูมิใจในวัฒนธรรมท้องถิ่น
๘. โรงเรียนมีอาคารสถานที่มีความร่มรื่นสวยงาม น่าอยู่น่าเรียน มีความปลอดภัย เอื้อต่อการจัดกิจกรรม
การเรียนการสอน
เป็นแหล่งเรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
๙. โรงเรียนมีมีวัสดุ อุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอนเทคโนโลยี และแหล่งเรียนรู้ ที่เอื้อต่อการจัดการเรียน
การสอนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
๑๐. โรงเรียนมีการวิจัย
และพัฒนาแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียน
๑๑. ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของโรงเรียน
๑๒. นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชนมีความพึงพอใจการจัดการศึกษาของโรงเรียน
๑๓. ชุมชนได้รับการพัฒนาอย่างยั่งยืนจากการจัดการศึกษาของโรงเรียน