ข้อมูลทั่วไป
ประวัติโรงเรียน
1.ข้อมูลทั่วไป
1.1 ประวัติสถานศึกษา
ชื่อโรงเรียนบ้านกูแบอีแก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส เขต
2 กระทรวงศึกษาธิการ
ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2505 อยู่ในหมู่ที่
4 ตำบลปูโยะ อำเภอสุไหงโก-ลก
จังหวัดนราธิวาส รหัสไปรษณีย์ 96120
ครั้งแรกโรงเรียนตั้งขึ้นจากความร่วมมือของชาวบ้านที่ได้เล็งเห็นความสำคัญของการศึกษาที่ต้องการให้บุตรหลานของตนเองได้มีความรู้ อ่านออกเขียนได้ จึงได้ร่วมมือกันบริจาคที่ดิน
โดยมี นายเจ๊ะเมาะ รอนิ นายอาแด
มูซอ และนายเซาเดาะ มะแอ
ได้บริจาคที่ดินให้กับทางราชการเพื่อสร้างโรงเรียน โรงเรียนบ้าน
กูแบอีแก
และได้ช่วยกันสร้างอาคารเรียนชั่วคราวขึ้นและได้เปิดทำการสอนเป็นครั้งแรกโดยมีครูใหญ่คนแรก
ชื่อนายจิตร แซอ๋อง
ปัจจุบันโรงเรียนบ้านกูแบอีแก
มีอาณาบริเวณทั้งสิ้น 2 ไร่ 73
ตารางวา มีอาคารเรียนถาวรจำนวน 3 หลัง 6 ห้องเรียน
อาคารเรียนชั่วคราว จำนวน 1 หลัง 2 ห้องเรียน อาคารอเนกประสงค์ จำนวน 1 หลัง
อาคารโรงอาหาร จำนวน 1 หลัง
มีจำนวนข้าราชการครูทั้งสิ้น จำนวน
7 คน พนักงานราชการ จำนวน 3 คน
ครูผู้สอนอิสลามรายชั่วโมง จำนวน 1
คน พนักงานบริการ
จำนวน 1 คน
ธุรการโรงเรียน จำนวน 1 คน
มีนักเรียนในปีการศึกษา 2563 จำนวน 125 คน ได้เปิดทำการสอน 2
ระดับ คือ
ระดับก่อนประถมศึกษา ระดับประถมศึกษา
โดยมี นายสุธี อาแวเตะ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน
1.2 ที่ตั้งสถานศึกษา
ตั้งอยู่ที่บ้านกูแบอีแก หมู่ที่ 4 ตำบลปูโยะ อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส รหัสไปรษณีย์
96120
อาณาเขตของโรงเรียน
-
ทิศตะวันออก จดที่ถนนคลองชลประมาณ
-
ทิศตะวันตก จดที่ถนนสาธารณะบ้านกูแบอีแก – บ้านปลักปลา
-
ทิศเหนือ จดที่ดิน
นางลีเม๊าะ ยาลี
-
ทิศใต้ จดที่ดิน
นายมะเส็ง เงาะ
เนื้อที่ของโรงเรียน
มีเนื้อที่ 2 ไร่
73 ตารางวา
รับขึ้นทะเบียนที่ราชพัสดุเป็นที่
นธ.
538
1.3 ลักษณะของชุมชนที่ตั้งสถานศึกษาตั้งอยู่
ชุมชนบ้านกูแบอีแก เป็นหมู่บ้านที่ติดอยู่คลองป่าพรุ และคลองชลประทานมูโนะ
เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ของตำบลปูโยะ
อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ลักษณะที่ตั้งของหมู่บ้าน เป็นชนบท มีอาชีพหลัก การกรีดยางและเกษตรกรรม ทิศเหนือ บ้านปลักปลา - ตากใบ ทิศตะวันออก
จดหมู่ที่ 2 บ้านโคกสือแด คลองชลประทานมูโนะ ทิศใต้ติดกับบ้านโคกกูโน – โต๊ะเวาะ ทิศตะวันตก จดทางป่าพรุ
ซึ่งเป็นเขตบริการของโรงเรียนบ้านกูแบอีแกเช่นกัน
ประวัติการตั้งถิ่นฐาน
บ้านกูแบอีแก เป็นที่อยู่ของชาวบ้านที่อพยพมาจากดินแดนมาลายา
เมื่อหลายร้อยปีมาแล้วโดยมาตั้งรกรากริมแม่น้ำแห่งนี้และในบริเวณนี้มักจะอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธ์นานาชนิด
มีต้นส้มพีมากมายและเฉพาะปลาชุกชุมหลายชนิด
ชาวบ้านเรียกชื่อว่า กูแบอีแก
ต่อมาภายหลังได้ประกาศให้เป็น ชื่อหมู่บ้านว่า
“บ้านกูแบอีแก”
ลักษณะภูมิประเทศ เป็นที่ราบลุ่ม เหมาะสำหรับทำนา สวนผลไม้ และปลูกยางพาราและ
เลี้ยงสัตว์
การคมนาคม ห่างจากที่ว่าการอำเภอสุไหงโก-ลก 15 กิโลเมตร โดยใช้ทางชนบท สายกูแบอีแก – โต๊ะเวาะ – ลาแล –
มือบา – กวาลอซีรา และสายทางหลวงแผ่นดิน สุไหงโก-ลก -
ตากใบ และห่างจากจังหวัดนราธิวาส
50 กิโลเมตร
ลักษณะภูมิอากาศ มี 2 ฤดู
คือ ฤดูร้อนและฤดูฝน มีฝนตกตลอดทั้งปี
น้ำจะท่วมในเดือน พฤศจิกายน -ธันวาคม และต้นเดือน
มกราคม ของทุกปี มีกระแสลมพัดในเดือน มกราคม –เมษายน
ประชากร
มีจำนวน
163 ครัวเรือน ประชากร
896 คน (ข้อมูลปี
2562)
สภาพทางสังคม เป็นสังคมชนบท นับถือศาสนาอิสลาม
ร้อยละ99.5 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 0.5 ส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านดั้งเดิม
ส่วนใหญ่เป็นมุสลิมเคร่งครัดศาสนา มีมัสยิด
2 แห่ง
บาลาเซาะ จำนวน 1 แห่ง มีปอเนาะสอนศาสนาอิสลามจำนวน 1
แห่ง
ประชาชนยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณีของศาสนาอิสลามในการปฏิบัติประจำวัน
ประเพณีและวัฒนธรรมที่นิยมจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี คือ
วันเมาลิด กวนอาซูรอ วันอิดิ้ลฟิตรีและ อิดิ้ลอัฎฮา
สภาพทางเศรษฐกิจ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำสวนผลไม้ยางพาราถึงร้อยละ 90 ร้อยละ 10 ประกอบอาชีพ ค้าขาย
รับจ้าง บางคนไปทำงานประเทศมาเลเซีย
มีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 5,000 บาท/คน
แหล่งท่องเทียวและที่พักผ่อนหย่อนใจ สะพานเจาะบากง
ศูนย์วิจัยป่าพรุสิรินธร(ป่าพรุโต๊ะแดง) ศูนย์ปศุสัตว์มูโนะ
ภูมิปัญญาของท้องถิ่น
-
ด้านการสอนอัลกุรอ่าน
ได้แก่ นายดือเล๊าะ ยูนุ นายะโก๊ะ มามะ
นางเม๊าะเต๊ะ
-
ด้านตัดเย็บเสื้อผ้า
ได้แก่ นายนาซือรี มะดาโอ๊ะ
-
ด้านซ่อมรถจักรยานยนต์ ได้แก่ นายมะยาฮา เงาะ
-
ด้านช่างไฟฟ้า ได้แก่ นายเปาะซู เมาะนา
-
ด้านช่างตัดผมชายได้แก่
นายมะยาฮา เงาะ
-
ด้านช่างก่อสร้าง
ได้แก่ นายมะแอ มามุ
-
ด้านอาหารและโภชนาการ
ได้แก่ กลุ่มสตรีบ้านกูแบอีแกโดยนางมาเฮรัญ เจ๊ะเมาะ
-
ด้านการเกษตร
ได้แก่ นางเตือนใจ บุญชัย นายมาซือแล มะสือแลแม
แหล่งเรียนรู้/สถานที่สำคัญในชุมชน หมู่บ้านกูแบอีแก
ได้แก่
-
กลุ่มเกษตรกรดีเด่นบ้านกูแบอีแก อยู่ห่างจากโรงเรียน 200 เมตร
เป็นสถานที่การจัดการด้านการเกษตรของหมู่บ้าน
-
สะพานประวัติศาสตร์ครั้งหนึ่งในหลวง
ร. 9 เสด็จมาเยือนและพักสำรวจพื้นที่สะพาน
เจาะบากง ห่างจากโรงเรียน 1 กิโลเมตร มีทิวทัศน์ที่สวยงาม เหมาะสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจ
ได้ศึกษาระบบการชลประทาน
-
สถานีตำรวจภูธรตำบลมูโนะ อยู่ห่างจากโรงเรียน 6 กิโลเมตร เป็นที่ศึกษาการจราจรการปฏิบัติตามกฎหมายอาญาทุกชนิด
-
องค์การบริหารส่วนตำบลปูโยะ
อยู่ห่างจากโรงเรียน 1.5 กิโลเมตร
เป็นที่ศึกษาการบริหารส่วนท้องถิ่น
-
สถานีอามัยตำบลปูโยะ อยู่ห่างจากโรงเรียน 1.5 กิโลเมตร เป็นที่ศึกษาการสาธารณสุข
-
สวนผลไม้ต่าง
ๆ เช่น แตงโม ฟักทอง ลองกอง ทุเรียน
เงาะ ซึ่งบริเวณรอบโรงเรียนในรัศมี
1 กิโลเมตรเป็นที่ศึกษาการเพาะปลูกผลไม้
วิสัยทัศน์
นักเรียนมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน ประสานสัมพันธ์ชุมชน ครูทุกคนเป็นครูมืออาชีพ บรรยากาศเอื้อต่อการเรียนรู้ มุ่งสู่ประชาคมอาเซียน น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เคียงคู่คุณธรรม
พันธกิจ
พันธกิจ (Mission)
๑. จัดกระบวนการเรียนรู้ มุ่งสู่ประชาคมอาเซียนและมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน
๒. เปิดโอกาสให้ชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษา
๓. พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถสู่ครูมืออาชีพ และเป็นแบบอย่างที่ดี
๔. ปรับปรุงสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้
๕. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรม น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เป้าหมาย
๑. นักเรียนมีความรู้ที่จำเป็นตามหลักสูตร
๒. สถานศึกษาได้รับความร่วมมือจากชุมชน
๓. บุคลากรเป็นครูมืออาชีพ เป็นคนดี มีคุณธรรม และเป็นแบบอย่างที่ดีแก่สังคม
๔. โรงเรียนมีบรรยากาศที่ดีเอื้อต่อการเรียนรู้
๕. นักเรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี