ข้อมูลทั่วไป
คำขวัญ
“ สร้างสรรค์ ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด อดทน”
ประวัติโรงเรียน
โรงเรียนบ้านห้วยปู
ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม
2505 โดยแยกมาจากโรงเรียนบ้านสันป่าเหียว ตำบลแม่อาย อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ มีนายประจัญ วัตรสุข
ครูโรงเรียนบ้านสันป่าเหียว รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่
การจัดตั้งโรงเรียนครั้งแรก
ได้รับความร่วมมือจากราษฎรช่วยกันบริจาคที่ดิน ทรัพย์สิน
อุปกรณ์การก่อสร้างอาคารเรียน
โดยไม่ใช้เงินงบประมาณของทางราชการแต่อย่างใดปัจจุบันโรงเรียนบ้านห้วยปู
เปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล 2 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
มีนักเรียนในปีการศึกษา
2565 ทั้งสิ้น 113 คน
ผู้อำนวยการโรงเรียน1
คน ข้าราชการครู 7 คน ครูอัตราจ้าง 1 คน ครูพี่เลี้ยง
1 คน พนักงานราชการ 1 คน ครูธุรการ 1 คน และครูจากมูลนิธินาวา2คนและลูกจ้างทั่วไป1คน รวม 15 คน
ที่ตั้ง ขนาดพื้นที่
โรงเรียนบ้านห้วยปู มีพื้นที่ทั้งหมด 6 ไร่
1 งาน 31
ตารางวาตั้งอยู่หมู่ที่
1 ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่
อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอแม่อาย 5 กิโลเมตร
ห่างจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 ประมาณ 30 กิโลเมตร
เขตบริการของโรงเรียน ประกอบด้วย 1
หมู่บ้าน 1 หย่อมบ้าน คือ
1. บ้านห้วยปู
หมู่ 1
2. หย่อมบ้านลาหู่จะลอ
สภาพพื้นที่
ตั้งอยู่ภูมิประเทศที่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ประมาณ
490 – 500
เมตร
สภาพพื้นที่เป็นที่ราบเชิงเขา
มีภูเขาสูงล้อมรอบอยู่ทางตอนเหนือสุดของประเทศ มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศพม่า
สภาพชุมชน
เป็นชุมชนชนบท การคมนาคมสะดวกทุกฤดู ด้านสาธารณูปโภคมีพร้อมราษฎรในชุมชนประกอบด้วยชนชาวพื้นเมือง
ชาวไทยภูเขาเผ่ามูเซอดำ ชนชาวไทยใหญ่และชนกลุ่มน้อยที่อพยพหลบหนีเข้าเมือง ส่วนใหญ่เชื้อชาติไทย
สัญชาติไทย นับถือศาสนาพุทธ ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีแบบพื้นเมืองเหนือ ประชาชนมีฐานะความเป็นอยู่ยากจน
80 % ฐานะปานกลาง 20 % ประกอบอาชีพทำนาทำสวนและรับจ้าง มักจะประสบกับปัญหาความแห้งแล้ง ขาดแคลนน้ำดื่มน้ำใช้ในฤดูแล้งและได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ในพื้นที่ตามแนวชายแดนไทย
- พม่า
วิสัยทัศน์
โรงเรียนขนาดเล็กที่มีคุณภาพบนพื้นฐานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
พันธกิจ
1. จัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน
2. จัดกิจกรรมปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม มีระเบียบวินัยตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์
3. ส่งเสริมพัฒนาครูให้มีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีคุณภาพ
4. ส่งเสริมให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
5. ส่งเสริมสนับสนุนนักเรียนและครูให้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาใช้ในการ
ดำเนินชีวิต
เป้าประสงค์
1.
นักเรียนจบหลักสูตรการศึกษาของโรงเรียนอย่างมีคุณภาพ
2.
นักเรียนเป็นคนดี มีคุณธรรม
มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการและค่านิยมหลัก 12
ประการ
3.
ครูสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเต็มตามศักยภาพ
4.
ผู้ปกครอง
คณะกรรมการสถานศึกษา
องค์กรชุมชนและหน่วยงานที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา
5.
ครูและนักเรียนดำเนินวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง