ข้อมูลทั่วไป
คำขวัญ
เรียนดี กีฬาเด่น เน้นจริยธรรม
ประวัติโรงเรียน
ปี พ.ศ.2454 ได้ก่อกำเนิดโรงเรียนชุมแสงชนูทิศ โดยพระวิภัทรวิทยาสาร ศึกษาธิการจังหวัดนครสวรรค์ เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งโดยอาศัยศาลาการเปรียญวัดชุมแสง ทำการสอนตั้งเเต่ชั้นเตรียมประถมถึงชั้นประถมปีที่ 3โดยมี นายป้อม มุกดาผล ศึกษาธิการอำเภอชุมแสง ในขณะนั้นรักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ เป็นโรงเรียนที่กำเนิดเป็นโรงเรียนลำดับที่สามในจังหวัดนครสวรรค์ ใช้ตัวย่อว่า น.ส.3 (นครสวรรค์3) ต่อมาเปลี่ยนเป็น น.ว.3 เพราะไปตรงตัวย่อของนางสาวไทย โดยตั้งชื่อโรงเรียนว่า "โรงเรียนวัดชุมเเสง" ปี พ.ศ.2466 หลวงสกลรักษา นายอำเภอชุมแสง ได้ขอเเรงประชาชนแผ้วถางป่าข้างที่ว่าการอำเภอชุมเเสง(เดิม) จัดสร้างอาคารเรียนเป็นอาคารไม้ชั้นเดียวมี 3 ห้องเรียน ด้านหน้ามีเฉลียงมีมุขตรงกลางบันได หลังคามุงด้วยซีเมนต์พื้นไม้ตะเเบกใช้งบประมาณ จากภาษีอากรของรัฐเเละประชาชนร่วมกันบริจาคเเละย้ายนักเรียนจากศาลาการเปรียญไปเรียนที่ใหม่เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2466 เริ่มให้นักเรียนเข้าเรียนเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ.2466 อำมาต์เอกพระยาสุนทรพิพิธ เป็นข้าหลวงประจำ จ.นครสวรรค์ ได้มาเป็นประธานในพิธีเปิดป้ายชื่อว่า โรงเรียนประจำอำเภอชุมแสง “ชุมแสงชนูทิศ” เปิดทำการสอนตั้งเเต่เตรียมประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีนายตี๋ ซุ่นพั้ง เป็นครูใหญ่คนแรก 15 กรกฏาคม 2493 นายสวัสดิ์ เฉลิมพงศ์ นายอำเภอชุมแสง ร่วมมือกับคณะกรรมการเมืองชุมเเสง จัดเเสดงละครเรื่อง"อยุธยาล่ม" บทประพันธ์ของนายสิงห์ ผูกพานิช เก็บเงินได้ 38,415 บาทโดยไม่หักค่าใช้จ่าย เเละนายวงศ์ ธ.พุกประยูร ศึกษาธิการจังหวัดนครสวรรค์ สนับสนุนเงินงบประมาณสมทบอีก 120,000 บาท จัดสร้างอาคารเรียนเเห่งใหม่บนเนื้อที่ 7ไร่ โดยมี นายเเพ กกกลิ่น เป็นผู้บริจาคที่ดิน ริมทางรถไฟ (บริเวณสาธารณสุขอำเภอในปัจจุบัน) เมื่อสร้างเสร็จ ได้ย้ายนักเรียนมาเรียนที่ใหม่ เมื่อวันที่ 11 ส.ค. 2494 นายสาย หุตะเจริญ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ ได้ทำพิธีเปิดป้ายชื่อว่า "โรงเรียนชุมเเสง ชุมเเสงชนูทิศ" ได้รับอนุมัติในเปิดเรียนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 (มัธยมต้น มี.ม.1-ม.6 ถ้ามัธยมปลายมี ม.7-ม.8) มีนายเสงี่ยม เอี่ยมธรรม เป็นครูใหญ่ ปี พ.ศ.2514 โรงเรียนได้รับอนุมัติจากกรมสามัญศึกษาให้เปลี่ยนชื่อใหม่จากโรงเรียนชุมแสง “ชุมแสงชนูทิศ” เป็นโรงเรียนชุมแสงชนูทิศ และเปลี่ยนชื่อย่อจาก “น.ว.3” เป็น “ช.ท.” ปี พ.ศ.2454 ได้ก่อกำเนิดโรงเรียนชุมแสงชนูทิศ โดยพระวิภัทรวิทยาสาร ศึกษาธิการจังหวัดนครสวรรค์ เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งโดยอาศัยศาลาการเปรียญวัดชุมแสง ทำการสอนตั้งเเต่ชั้นเตรียมประถมถึงชั้นประถมปีที่ 3โดยมี นายป้อม มุกดาผล ศึกษาธิการอำเภอชุมแสง ในขณะนั้นรักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ เป็นโรงเรียนที่กำเนิดเป็นโรงเรียนลำดับที่สามในจังหวัดนครสวรรค์ ใช้ตัวย่อว่า น.ส.3 (นครสวรรค์3) ต่อมาเปลี่ยนเป็น น.ว.3 เพราะไปตรงตัวย่อของนางสาวไทย โดยตั้งชื่อโรงเรียนว่า "โรงเรียนวัดชุมเเสง" ปี พ.ศ.2466 หลวงสกลรักษา นายอำเภอชุมแสง ได้ขอเเรงประชาชนแผ้วถางป่าข้างที่ว่าการอำเภอชุมเเสง(เดิม) จัดสร้างอาคารเรียนเป็นอาคารไม้ชั้นเดียวมี 3 ห้องเรียน ด้านหน้ามีเฉลียงมีมุขตรงกลางบันได หลังคามุงด้วยซีเมนต์พื้นไม้ตะเเบกใช้งบประมาณ จากภาษีอากรของรัฐเเละประชาชนร่วมกันบริจาคเเละย้ายนักเรียนจากศาลาการเปรียญไปเรียนที่ใหม่เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2466 เริ่มให้นักเรียนเข้าเรียนเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ.2466 อำมาต์เอกพระยาสุนทรพิพิธ เป็นข้าหลวงประจำ จ.นครสวรรค์ ได้มาเป็นประธานในพิธีเปิดป้ายชื่อว่า โรงเรียนประจำอำเภอชุมแสง “ชุมแสงชนูทิศ” เปิดทำการสอนตั้งเเต่เตรียมประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีนายตี๋ ซุ่นพั้ง เป็นครูใหญ่คนแรก 15 กรกฏาคม 2493 นายสวัสดิ์ เฉลิมพงศ์ นายอำเภอชุมแสง ร่วมมือกับคณะกรรมการเมืองชุมเเสง จัดเเสดงละครเรื่อง"อยุธยาล่ม" บทประพันธ์ของนายสิงห์ ผูกพานิช เก็บเงินได้ 38,415 บาทโดยไม่หักค่าใช้จ่าย เเละนายวงศ์ ธ.พุกประยูร ศึกษาธิการจังหวัดนครสวรรค์ สนับสนุนเงินงบประมาณสมทบอีก 120,000 บาท จัดสร้างอาคารเรียนเเห่งใหม่บนเนื้อที่ 7ไร่ โดยมี นายเเพ กกกลิ่น เป็นผู้บริจาคที่ดิน ริมทางรถไฟ (บริเวณสาธารณสุขอำเภอในปัจจุบัน) เมื่อสร้างเสร็จ ได้ย้ายนักเรียนมาเรียนที่ใหม่ เมื่อวันที่ 11 ส.ค. 2494 นายสาย หุตะเจริญ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ ได้ทำพิธีเปิดป้ายชื่อว่า "โรงเรียนชุมเเสง ชุมเเสงชนูทิศ" ได้รับอนุมัติในเปิดเรียนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 (มัธยมต้น มี.ม.1-ม.6 ถ้ามัธยมปลายมี ม.7-ม.8) มีนายเสงี่ยม เอี่ยมธรรม เป็นครูใหญ่ ปี พ.ศ.2514 โรงเรียนได้รับอนุมัติจากกรมสามัญศึกษาให้เปลี่ยนชื่อใหม่จากโรงเรียนชุมแสง “ชุมแสงชนูทิศ” เป็นโรงเรียนชุมแสงชนูทิศ และเปลี่ยนชื่อย่อจาก “น.ว.3” เป็น “ช.ท.” ปี พ.ศ.2515 นายปัญญา อินทรโอสถ ศึกษาธิการจังหวัดนครสวรรค์ ได้สนับสนุนให้ย้ายโรงเรียนมาอยู่ ณ สถานที่ปัจจุบัน ในเนื้อที่ 48 ไร่ 42 ตารางวา ซึ่งเป็นที่ว่าการอำเภอชุมแสงเดิม มีนายนิวัต พรหมศร เป็นอาจารย์ใหญ่ และได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการคนแรก จนเกษียณอายุราชการ ปี พ.ศ.2516 ได้ย้ายนักเรียนบางส่วนมาเรียนที่ใหม่ และได้งบประมาณจากกรมสามัญศึกษาให้ก่อสร้างเพิ่มเติมต่อเนื่องมาจนย้ายนักเรียนมาเรียนได้ที่ใหม่ทั้งหมด ปี พ.ศ.2526 กรมสามัญศึกษา ได้แต่งตั้งให้ นายไพบูลย์ นิลพิบูลย์ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน และได้เสียชีวิต เมื่อปี พ.ศ. 2530 ปี พ.ศ.2530 กรมสามัญศึกษา ได้แต่งตั้งให้ นายธวัชชัย ไพรรั้ง เป็นผู้รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน เปิดสอน 43 ห้องเรียน มีข้าราชการครู 91 คน นักเรียน 1,491 คน ได้งบประมาณก่อสร้างโรงฝึกงาน แบบ 102/27 งบประมาณ ปี 2530 ในวงเงิน 780,000 บาท มีนายระเด่น พานทอง เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนจนเกษียณอายุราชการ ปี พ.ศ. 2533 เปิดสอน 39 ห้องเรียน มีนักเรียน 1,516 คน ข้าราชการครู 83 คนมีนายระเด่น พานทอง เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน ปี พ.ศ.2536 กรมสามัญศึกษา แต่งตั้งให้นายสุวัฒน์ ลีวุฒินันท์ มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ ปี พ.ศ.2539 โรงเรียนได้รับจัดสรรงบประมาณก่อสร้าง อาคารหอประชุม - โรงอาหารแบบ 101 ล/27(พิเศษ) ในวงเงิน 7,194,000 บาท โดยเป็นงบผูกพันถึงปีงบประมาณ 2540 ปี พ.ศ.2544 กรมสามัญศึกษาได้แต่งตั้งให้ นายปรีชา ทานะมัย มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน ได้รับจัดสรรงบประมาณ หมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ค่าครุภัณฑ์การศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับ ม.ปลาย วงเงิน 570,000 บาท ปี พ.ศ.2549 นายสมกิตติ์ คำประกอบ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน และเสียชีวิตเมื่อเดือน มกราคม พ.ศ.2553 ปี พ.ศ.2553 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์ เขต 1 ได้แต่งตั้งให้ นายวีรชัย ทิวากรสกุล รองผู้อำนวยการโรงเรียน เป็นผู้รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการโรงเรียน ปี พ.ศ.2553 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แต่งตั้งให้ นางสาวสุดสวาท ยังแจ่ม มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนชุมแสงชนูทิศ ปี พศ.2560 สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครสวรรค์ ได้แต่งตั้งให้ นายชาญชัย ชนิดสะ มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนชุมแสงชนูทิศ ปี พศ.2563 สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครสวรรค์ ได้แต่งตั้งให้ นางสาวรัชฎาพร สุดเสมา รองผู้อำนวยการโรงเรียน เป็นผู้รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการโรงเรียน วิสัยทัศน์ พันธกิจ 1. พัฒนาผู้เรียนให้รักความเป็นไทย และมีคุณภาพเป็นพลโลก 2. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ 3. พัฒนาระบบการบริหารจัดการให้ทันสมัย 4. พัฒนาระบบเทคโนโลยีให้มีประสิทธิภาพ 5. ส่งเสริมให้ชุมชนและสังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา เป้าประสงค์ 1. ผู้เรียนรักความเป็นไทย และมีคุณภาพเป็นพลโลก 2. ครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ 3. โรงเรียนมีระบบการบริหารจัดการทันสมัย 4. โรงเรียนมีระบบเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ 5. ชุมชนและสังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาผู้เรียน 1. ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนด้านวิชาการให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้นและมุ่งสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ 2. ส่งเสริมผู้เรียนให้มีการอนุรักษ์ไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรม 3. ส่งเสริมผู้เรียนให้สื่อสารได้อย่างน้อย 2 ภาษา 4. ส่งเสริมผู้เรียนให้ใช้เทคโนโลยี ผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ 5. ปลูกฝังให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 6. ส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพอนามัยผู้เรียน 7. ปลูกฝังให้ผู้เรียนสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างเหมาะสม มีความรับผิดชอบต่อสังคมและมีจิตสาธารณะ 8. ส่งเสริมให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้และทำงานอย่างเป็นระบบ กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา 1. ส่งเสริมครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีการอนุรักษ์ไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรม 2. พัฒนาครูให้มีทักษะการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลาย 3. พัฒนาครูให้เป็นครูมืออาชีพและเป็นแบบอย่างที่ดี 4. ส่งเสริมให้ครูทำงานอย่างเป็นระบบและเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ 5. พัฒนาครูให้สร้างแหล่งเรียนรู้ดิจิทัล เพื่อการเรียนรู้ตลอดเวลา กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาระบบบริหารจัดการ 1. พัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ 2. สนับสนุนให้มีการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม 3. พัฒนาหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 4. ปรับภูมิทัศน์ภายในสถานศึกษาให้เอื้อต่อการเรียนรู้ กลยุทธ์ที่ 4 พัฒนาระบบเทคโนโลยี 1. ปรับโครงสร้างพื้นฐานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้ครอบคลุมทั่วทั้งโรงเรียนอย่างมีเสถียรภาพและตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ 2. ส่งเสริมการพัฒนาทักษะความเชี่ยวชาญทางเทคโนโลยีให้กับผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา กลยุทธ์ที่ 5 เสริมสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน 1. พัฒนาความสัมพันธ์กับผู้ปกครอง ชุมชน และภาคีเครือข่ายประวัติโรงเรียน
นายพงษ์เทพ เจริญไทย
ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมแสงชนูทิศ
เมนูทั่วไป