ข้อมูลทั่วไป

ประวัติโรงเรียน

 ชื่อโรงเรียนชุมชนสวี   ตั้งอยู่เลขที่  -  ถนน  -  ตำบลนาโพธิ์  อำเภอสวี   จังหวัด ชุมพร

สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2  รหัสไปรษณีย์86130

โทรศัพท์  077-531772  โทรสาร  077-532160  E-Mail  chumchonsawi07@gmail.com

เปิดสอนระดับชั้นปฐมวัย  ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  6

ประวัติโรงเรียนโดยย่อ

                โรงเรียนชุมชนสวี  ตั้งขึ้นเมื่อ  27  พฤษภาคม  2494  สังกัดกรมวิสามัญศึกษา  เปิดสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3  ใช้ชื่อว่า  “โรงเรียนสวี”  ซึ่งได้อาศัยศาลาวัดโพธิเกษตรเป็นสถานที่เรียนชั่วคราว  มีพระครูวิจิตรกรณีย์เป็นผู้อุปการะ  และมีนายเนื่อง  พีรพล  เป็นครูใหญ่คนแรก  ต่อมาได้โอนไปสังกัดกรมสามัญศึกษา  กองการศึกษาพิเศษ  ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียน  เป็นอาคารแบบ  003  จำนวน  6  ห้องเรียน  ในที่ดิน  50  ไร่  ตั้งอยู่ ณ บ้านควนตะล่อม  หมู่ที่ 7  ตำบลนาโพธิ์  อำเภอสวี  จังหวัดชุมพร  วันที่  22  พฤษภาคม  2496  ได้ย้ายที่เรียนจากวัดโพธิเกษตรมาเรียนที่อาคารเรียนหลังใหม่  และวันที่  22  พฤษภาคม  2505  ได้รับโอนนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1 – 4  จากโรงเรียนบ้านควนตะล่อมมารวมกับนักเรียนของโรงเรียน ต่อมาในปี  2530  ได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนจากโรงเรียนสวี  เป็น  โรงเรียนชุมชนสวี

                โรงเรียนชุมชนสวี  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2  ตั้งอยู่ ณ หมู่ที่ 7  ตำบลนาโพธิ์  อำเภอสวี  จังหวัดชุมพร  รหัสไปรษณีย์ 86130     บนพื้นที่  50  ไร่  -  งาน  ประกอบด้วย  อาคารเรียน  3  หลัง  อาคารประกอบ  1  หลัง  ห้องเรียน  8  ห้อง  และห้องพิเศษ  5  ห้อง  โทรศัพท์ 077-531772  โทรสาร 077-5321

วิสัยทัศน์

โรงเรียนชุมชนสวี  มุ่งเน้นคุณภาพผู้เรียน  พัฒนาครูบุคลากรเป็นมืออาชีพ  ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  โดยชุมชนมีส่วนร่วม  

พันธกิจ

1.  พัฒนาผูู้เรียนให้มีความรู้  ความสามารถตามเกณฑ์มาตรฐาน  มีสุขภาพจิตที่ดี  รักศิลปะ  ดนตรีและกีฬา  รู้จักอนุรักษ์วัฒธรรมและสิ่งแวดล้อม

2.  พัฒนาการเรียนการสอนที่เน้นการบูรณาการและยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ  น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐ์กิจพอเพียง  จัดการเรียนรู้ให้ผู้รียนมีทักษะกระบวนการคิด  ใฝ่รู้ใฝ่เรียน  รักการอ่าน  รักการทำงาน  มีวินัย  ซื่อสัตย์  ประหยัดอดออม

3.  ส่งเสริมให้ครู  บุคลากร  ทางการศึกษาพัฒนาสู่มืออาชีพ

4.   พัฒนาการบริหารการจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ  โดยชุมชนมีส่วนร่วม