ข้อมูลทั่วไป
คำขวัญ
เรียนดี มีวินัย มีน้ำใจ เสียสละ
ประวัติโรงเรียน
โรงเรียนบ้านทุ่งก้างย่าง
(ไทยไดอารี่อินดัสตรี้) ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลไทรโยค
อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ก่อตั้งเมื่อปีพ.ศ. 2508 โดยขณะนั้นเป็นป่าทึบมากมีไม้มีค่านานาชนิดมีสัตว์ป่าชุกชุม
ต่อมานายชัยยศ ปิ่นสุกาญจน์ ได้ขอให้กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต7 ส่งตชด.มาสอนเด็กนักเรียนโดยใช้โรงคนงานเก่าเป็นโรงเรียนชั่วคราว
ใช้ชื่อว่าโรงเรียน ชายแดนอนุเคราะห์ที่ 11 บ้านทุ่งก้างย่างและได้เปิดทำการเรียนการสอนเรื่อยมา
พ.ศ.2515
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีได้พระราชทานเงินจำนวน 50,000
บาท ให้สร้างเป็นอาคารถาวรและพระราชทานชื่อว่าโรงเรียนไทยไดอารี่อินดัสตรี้
พ.ศ.2516
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีได้เสด็จมาทำพิธีเปิดโรงเรียน
พ.ศ.2518 ได้รับงบประมาณจากกรมตำรวจจำนวน 4,912
บาท เพื่อจัดทำรางน้ำและบ้านพักครู
พ.ศ.2518 ในเดือนพฤศจิกายน
อธิบดีกรมสามัญศึกษาได้อนุมัติจัดตั้งโรงเรียนศึกษาผู้ใหญ่
โรงเรียนบ้านทุ่งก้างย่างที่โรงเรียนไทยไดอารี่อินดัสตรี้นี้โดยมีนักศึกษาชาย 50
คน นักศึกษาหญิง 8 คน
พ.ศ.2520 กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต 7
ได้ทำพิธีรับมอบโอนให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี
โดยแต่งตั้งนายชุมพล เอี่ยมขำ เป็นครูใหญ่
โดยได้รับการอนุเคราะห์สวัสดิการจ่ายจากบริษัทพระเจดีย์ฟาร์ม จำกัด
พ.ศ.2522 โรงเรียนได้ทำการต่อเติมชั้นล่างของอาคารเรียน
พ.ศ.2523 โรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างบ้านพักครูจำนวน
1 หลัง เป็นเงิน 125,000 บาท
พ.ศ.2526 ได้งบประมาณจากสำนักงานประถมศึกษาจังหวัดกาญจนบุรีเป็นจำนวน
20,000 บาท
ให้รื้อถอนบ้านพักครูตชด.หลังเก่ามาปลูกสร้างบริเวณอาคารใหญ่
ปัจจุบันโรงเรียนบ้านทุ่งก้างย่างมีพื้นที่
80 ไร่ 60 ตารางวา เปิดทำการสอนตั้งแต่อนุบาล 1 – ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยมีผู้บริหารโรงเรียนดังนี้
พ.ศ. 2526 นายชุมพล เอี่ยมขำ
พ.ศ. 2522 นายไพศาล มัฆมาณ
พ.ศ. 2530 นางสมทรง จันทร์สว่าง
พ.ศ. 2534 นายไกรสร โพธิ์ศรีสวัสดิ์
พ.ศ. 2536 นายเสถียร ห้าวเจริญ
พ.ศ. 2537 นายสำราญ เชยล้อมขำ
พ.ศ. 2539 นางสาวปัทมา อมาตยกุล
พ.ศ. 2540 นายกฤษณ์ ศรีสมบูรณ์
พ.ศ. 2548 นายสมเพชร จันทะจิตต์
พ.ศ. 2554 นายละมูล บูชากุล
พ.ศ. 2555 นางจันทนา สกุลวัฒนะ
พ.ศ. 2562 นายลิขิต โคกแก้ว
วิสัยทัศน์
พัฒนาศักยภาพครูและผู้เรียนให้มีคุณภาพ
มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมอันพึงประสงค์
สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้บนพื้นฐานของบริบทชุมชนและความเป็นไทย ขับเคลื่อนการศึกษาโดยนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษา
รัชกาลที่ 10 สู่การปฏิบัติ มาใช้ในการพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพอย่างยั่งยืน
พันธกิจ
1. เสริมสร้างสถานศึกษา
พัฒนางานทั้ง
4 ฝ่าย งานวิชาการ
งานบุคคล งานแผนและงบประมาณ งานบริหารทั่วไป
2. พัฒนาการเรียนการสอน
- มุ่งเน้นกระบวนการให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้
- นักเรียนสามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
- ทำให้นักเรียนเห็นคุณค่าของการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น
- ส่งเสริมให้นักเรียนสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันและกันทั้งในและนอกห้องเรียน
3. ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม
ยึดหลักคุณธรรม 8 ประการ
- มีความขยัน
- มีความประหยัด
- มีความซื่อสัตย์
- มีวินัย
- มีความสุภาพ
- รักความสะอาด
- มีความสามัคคี
- มีน้ำใจ
4. พัฒนาระบบการบริหารจัดการ
- ใช้การบริหารแบบมีส่วนร่วม
- ใช้ข้อมูลสารสนเทศที่ถูกต้องและทันสมัย
มาใช้ในการวางแผน
- ศึกษานโยบาย จุดเนน กลยุทธของหน่วยงานตนสังกัด
- ใชโรงเรียนเป็นฐาน
เพื่อใหเกิดการพัฒนาในทุกๆ ด้าน
- กระจายอำนาจใหครู บุคลากรทางการศึกษาได้มีโอกาสเป็นผู้นําและผู้ตามในการทำงาน
5. การจัดกระบวนการการเรียนการสอน
- ใช้วิธีการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
- ใช้กิจกรรมการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
น่าสนใจ และหลากหลาย
- ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
6. สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
- สร้างแหล่งเรียนรู้ที่ทันสมัย
เหมาะสมและเพียงพอ
- จัดการองค์ความรู้
- จัดหาและรวบรวมความรู้
- สามารถค้นคว้าความรู้ได้อย่างรวดเร็ว
- มีเนื้อหาองค์ความรู้ที่เหมาะสมกับศักยภาพและความต้องการ
- สร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ๆ
- การจัดการความรู้
- พัฒนารูปแบบการเรียนรู้
- สร้างสรรค์บรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนรู้
- มีการบูรณาการ
7. ยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา
-
สนับสนุนให้มีการทำวิจัยควบคู่กับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
-
ส่งเสริมการพัฒนาการจัดเรียนการสอนของครู
และการสอนแบบบูรณาการ และการใช้แผนการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรมพัฒนาระบบสารสนเทศเกี่ยวกับผู้เรียน
- พัฒนาครูในรูปแบบที่หลากหลาย
ตามสภาพความต้องการ จำเป็น ของโรงเรียนและความต้องการของครูอย่างต่อเนื่อง
- ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วย
ICT
เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
- สนับสนุนการน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงลงสู่วิถีชีวิตของนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนให้มากขึ้น
เป้าประสงค์
1. ผู้เรียนระดับก่อนประถมศึกษา
และระดับประถมศึกษามีการพัฒนาการเหมาะสมตามวัยมีคุณภาพและมีทักษะการเรียนรู้ตามยุคสมัย
2. ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีสรรถนะตามสายงานมีวัฒนธรรมการทำงานที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์
3. มีการพัฒนาสื่อ เทคโนโลยี
และระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการสถานศึกษาอย่างมีคุณภาพ
4. สถานศึกษามีความเข้มแข็ง
ชุมชนให้การสนับสนุนและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา