ข้อมูลทั่วไป

ประวัติโรงเรียน

โรงเรียนบ้านหนองขาม(สันติกาญจน์ราษฎร์บำรุง) ตั้งอยู่เลขที่ ๑ หมู่ ๖ ตำบลศาลาลัย อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ก่อตั้งเมื่อวันที่ ๑๕ เดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๐๓ โดยการบริจาคที่ดินซึ่งเป็นโรงน้ำตาลเก่าของ นายบุญทอง สันติกาญจน์ จำนวณ ๕ ไร่ ชาวบ้านร่วมกันสร้างอาคารเรียนแบบ ๐๐๒ ขนาด ๔ ห้องเรียน เปิดสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๔ มีนายเฉลียว วีระโชติ รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ ปัจจุบันเปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ๒ ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓

วิสัยทัศน์

 ภายในปี ๒๕๖๔ โรงเรียนบ้านหนองขาม(สันติกาญจน์ราษฎร์บำรุง) มุ่งพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา มีนิสัยรักการอ่าน สืบสานวิถีชีวิตพอเพียงและความเป็นไทย ใส่ใจเทคโนโลยี มีทักษะอาชีพ บุคลากรมีความเชี่ยวชาญในการจัดการเรียนรู้ เป็นครูมืออาชีพ เน้นพัฒนาแหล่งเรียนรู้และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้

พันธกิจ

๑. จัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ และคุณลักษณ์ที่พึ่งประสงค์ตามมาตรฐานฆลักสูตรสถานศึกษา และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
๒. จัดการเรียนรู้ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีนิสัยรักการอ่าน มีทักษะแสวงหาความรู้ และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
๓. จัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยนำสื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และนวัตกรรมทางการศึกษามาใช้อย่างหลากหลาย
๔. พัฒนาบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญในการจัดการเรียนรู้เป็นครูมืออาชีพ
๕. พัฒนาสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนให้สวยงาม ถูกสุขลักษณะ และเอื้อต่อการเรียนรู้
๖. ส่งเสริมให้ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมจัดการศึกษาของสถานศึกษา
๗. ส่งเสริมการสร้างอัตลักษณ์ของโรงเรียนให้โดดเด่น
๘. พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาตามแนวทางการปฎิรูปการศึกษา

เป้าประสงค์

๑. นักเรียนมีความรู้ ความสามารถ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานหลักสูตร และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
๒. ผู้เรียนมีทักษณะการแสวงหาความรู้ รักการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
๓. สถานศึกษามีสื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และนวัตกรรมการศึกษาที่หลากหลาย
๔. ครูและผู้บริหารเป็นมืออาชีพ มีคุณธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพครู และมีความรู้ความสามารถในการสอนและการบริหารจัดการให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนด
๕.นักเรียนเรียนรู้อย่างมีความสุขภายใต้แหล่งเรียนรู้และสภาพแวดล้อมที่ดี
๖.ชุมชนและภาคีเครือข่ายผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการพัฒนานีกเรียนให้เป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน สามารถดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
๗. สถานศึกษามีอัตลักษณ์ที่โดดเด่น
๘. สถานศึกษาพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษา