ข้อมูลทั่วไป
คำขวัญ
ขยันเรียน เพียรทำดี มีวินัย ใฝ่คุณธรรม
ประวัติโรงเรียน
ประวัติความเป็นมา
โรงเรียนบ้านหนองกา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2
สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 ตำบลปราณบุรี
อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับอนุบาล
ถึงระดับประถมศึกษาปีที่ 6
โรงเรียนตั้งครั้งแรก เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม
พ.ศ. 2480 โดยอาศัยศาลากลางหมู่บ้านหนองกา เป็นสถานที่สำหรับเรียนชั่วคราว ต่อมา ผู้ใหญ่พริ้ม
สุขอิ่ม ผู้ใหญ่บ้านขณะนั้น พร้อมด้วยชาวบ้านได้ไปร้องขอให้ทางราชการจัดตั้งโรงเรียนถาวรให้
และได้รับอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนถาวรได้ โดยได้รับบริจาคที่ดินในการสร้างโรงเรียนจาก
นางหลี ก้อนเมฆ จำนวน 6 ไร่ 1 งาน ลักษณะอาคารเรียนสร้างเป็นอาคารไม้ เสาไม้ ฝาขัดแตะไม้ไผ่
หลังคามุงหญ้าคา ปัจจุบันที่ดินแปลงนี้ไม่ได้ใช้ประโยชน์ เนื่องจากโรงเรียนย้ายมาอยู่ที่ดินแปลงใหม่
เมื่อทำการสร้างเป็นที่เรียบร้อยทางราชการได้แต่งตั้ง นายสมบุญ ศิริกุล
มาเป็นครูใหญ่คนแรก (ที่ดินที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ มีเอกสารสิทธิ์ ขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุ
สค.1 เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2480 เลขที่ 29)
-
พ.ศ. 2499 ได้งบประมาณก่อสร้าง จำนวน 5,000 บาท ทำการเปลี่ยนไม้โครงสร้างหลังคาเป็นไม้แปร
และมุงด้วยสังกะสี เป็นอาคารเรียนแบบ 001
-
พ.ศ. 2500 ได้รับอนุมัติงบประมาณ อีกจำนวน 5,000 บาท เพื่อซื้อกระดานปูพื้น เปลี่ยนฝาขัดแตะเป็นฝากระดานไม้
จำนวน 1 ห้องเรียน
-
พ.ศ. 2502 ย้ายโรงเรียนมาอยู่ที่ดินแปลงใหม่คือที่อยู่ปัจจุบัน
โดยความเห็นชองของคนส่วนใหญ่เนื่องจากที่ดินแปลงใหม่อยู่ติดกับถนน รพ.ปราณบุรี –
พุน้อย สะดวกแก่การเดินทางและการติดต่อ ที่ดินแปลงใหม่มีเนื้อที่ 11
ไร่ 3 งาน โดยมีผู้มีจิตศรัทธาบริจาคร่วมกัน 3 เจ้าของ คือ
1. นายกมล -
นางเปลื้อง แสงกล้า
2. นายไสว -
นางเอื้อน ผิวขำ
3.นายสุ่ม -
นางแป้น คงกะเรียน
ที่ตั้งโรงเรียนแปลงเก่าอยู่กลางหมู่บ้านหนองกา
เป็นทางผ่านของฝูงวัวและควาย สร้างความยุ่งยากในที่จะปรับปรุง ชาวบ้านจึงรวมพลังกันหามโรงเรียนทั้งหลังมาปลูกในที่ดินแปลงใหม่
เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2502 มี
นายโชติ ยี่รงค์ เป็นครูใหญ่
ได้รับงบประมาณ 10,000 บาท จากผู้แทนราษฎร
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทางราชการจึงเปิดให้มีการประมูลการก่อสร้างโดยใช้วัสดุเก่า ร่วมด้วยโรงเรียนการช่างประจวบคีรีขันธ์
- พ.ศ.
2505 นายจรัส จินดามณี เป็นครูใหญ่
ได้ร่วมมือกับชาวบ้านหนองกาในการพัฒนาโรงเรียน
ทำให้หมู่บ้านก้าวหน้ามาจนถึงปัจจุบัน
- พ.ศ. 2514 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนแบบ
002 ขนาด 6x9 จำนวน 4 ห้องเรียน 1 หลัง
- พ.ศ. 2521 กระทรวงศึกษาธิการได้เปลี่ยนแปลงหลักสูตรใหม่
โดยใช้ประกาศหลักสูตรประถมศึกษา 2 โดยให้โรงเรียนเปิดสอนหลักสูตรใหม่
ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1–6
และได้รับงบประมาณก่อสร้างโรงฝึกงาน 1 หลัง
- พ.ศ. 2523 ได้มีกฎหมายโอนโรงเรียนประชาบาล
สังกัดสำนักงานคระกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ
- พ.ศ. 2525
ได้รื้ออาคารเรียนแบบ 001 และได้งบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนแบบ 017 ก. ลักษณะอาคารเป็นอาคาร 2
ชั้น 4 ห้องเรียน
- พ.ศ. 2529 ได้เปิดทำการสอนอนุบาล-เด็กเล็ก
- พ.ศ. 2530
นายสมชาย ทองจำรัส ย้ายมาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่
โดยย้ายมาจากโรงเรียนบ้านเขาโป่ง
- พ.ศ. 2531 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศหลักสูตรประถมศึกษา
พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) และในปีนี้ได้เปิดสอนชั้นอนุบาล 1
และอนุบาล 2
- พ.ศ. 2533 ได้งบประมาณก่อสร้างต่อเติมชั้นล่างอาคารเรียน
017 ก.จำนวน 4 ห้องเรียน
- พ.ศ. 2533
ได้รับงบประมาณสร้างรั้วคอนกรีตเสริมเหล็ก 3 ด้าน และลวดหนามอีก 1 ด้าน
- พ.ศ. 2537 ได้รับงบประมาณซ่อมแซมอาคารเรียนแบบ
002/4 และโรงอาหาร
- พ.ศ. 2540 โรงเรียนได้เปิดสอนชั้นอนุบาล
3 ขวบ ตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ
- พ.ศ. 2541 ได้รับงบประมาณในการทำโรงเรียนให้เป็นปัจจุบันตามโครงการปฏิบัติการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมทั้งงบประสบภัยทางธรรมชาติ
- พ.ศ. 2542
ได้รับงบประมาณในการจัดทำห้องปฏิบัติการทางภาษาและห้องวิทยาศาสตร์ตามโครงการโรงเรียนปฏิรูป
- พ.ศ. 2551
ได้รับงบประมาณในการสร้างส้วม 1 หลัง 4 ห้อง
ปัจจุบันโรงเรียนบ้านหนองกา
มีพื้นที่ 11ไร่ 1 งาน 81 ตารางวา มีอาคารเรียน 2 หลัง 12 ห้องเรียน ส้วม 2 หลัง (สร้างเอง 1 หลัง) จำนวน
7 ที่นั่ง อาคารเอนกประสงค์ 1 หลัง จำนวนนักเรียน 93 คนเปิดทำการสอน 9 ห้องเรียน จำนวนครู 7 คน และครูธุรการ 1 คน
วิสัยทัศน์
ภายในปี 2564 โรงเรียนบ้านหนองกา มุ่งจัดการศึกษาให้นักเรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา สภาพแวดล้อมน่าอยู่ ผู้เรียนมีทักษะชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี พัฒนาคนดีสู่สังคม
พันธกิจ
1.ส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา
2.จัดสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่เอื้อต่อการเรียนรู้
3.ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
4.ส่งเสริมการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยไปพร้อมกับการก้าวทันเทคโนโลยี
5.ส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรมจริยธรรมพร้อมเป็นคนดีในสังคม
เป้าประสงค์
1.นักเรียนทุกคนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา
2.สภาพแวดล้อมสวยงาม สะอาด ร่มรื่น น่าอยู่น่าเรียน
3.นักเรียนมีทักษะชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
4.นักเรียนรู้จักอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยและก้าวทันเทคโนโลยี
5.นักเรียนมีคุณธรรม
จริยธรรมและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข