ข้อมูลทั่วไป

ประวัติโรงเรียน

ประวัติโดยย่อ

โรงเรียนบ้านสามกระทาย สร้างเมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๐๑ ผู้เริ่มก่อสร้างคือ นายสมัคร  ปรีเปรม ได้รับความร่วมมือร่วมใจจากประชาชนช่วยเหลือในระยะแรก ได้สละแรงงานและแรงเงินรวมทั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการก่อสร้าง  ซึ่งในขั้นต้นมีเพียงหลังคาและฝาชั่วคราว ภายหลังได้รับเงินงบประมาณ

๙,๐๐๐ บาท ครั้งที่ ๒ ได้รับเงิน ๕,๐๐๐ บาท เพื่อต่อเติมและซ่อมให้ดีขึ้น ที่ดินได้รับบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธา ได้แก่ นางเจ๊ก  ทองรอด นางมุ้ย ทรายละเอียด

นางเมื้อน  ทรายละเอียด และ นายวาด  ทองรอด   



พันธกิจ

.๑ พัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนให้สอดคล้องกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์และค่านิยมหลักของคนไทย

.๒ ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตามมาตรฐานการศึกษาชาติ

.๓ ส่งเสริมและพัฒนานักเรียนให้มีความสามารถตามสมรรถนะและมีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑

.๔ ส่งเสริมการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต

.๕ ส่งเสริม สนับสนุนการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของชุมชนและองค์กรต่างๆทุกภาคส่วน

.๖ ส่งเสริมครูและบุคลากรใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้ และเป็นครูมืออาชีพ

.๗ พัฒนาสถานศึกษาโดยเน้นการส่งเสริมสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

.๘.พัฒนาระบบประกันคุณภาพทางการศึกษา จัดทำข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษา

เป้าประสงค์

       ๑. นักเรียนมีคุณธรรมจริยธรรม ตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และค่านิยมหลักของคนไทย

       ๒. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาชาติอย่างเต็มศักยภาพ

       ๓. นักเรียนมีทักษะความสามารถด้านต่างๆ ตามสมรรถนะของผู้เรียนและมีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑

       ๔. นักเรียนสามารถน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำรงชีวิต

       ๕. เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างโรงเรียนกับชุมชน และภาคีเครือข่ายผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการพัฒนาสถานศึกษา ตามหลักการบริหารแบบธรรมมาภิบาล มีระบบการบริหารจัดการที่ดี 

          โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

       ๖. ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาให้เป็นครูมืออาชีพ สามารถจัดกระบวนการเรียนการสอนให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพมีสื่อเทคโนโลยีเพียงพอในการจัดกระบวนการเรียนรู้

       ๗. สภาพแวดล้อมของโรงเรียนเอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนทั้งภายนอกและภายใน ให้เป็นแหล่งเรียนรู้คู่ภูมิปัญญาท้องถิ่น

       ๘. โรงเรียนมีระบบประกันคุณภาพทางการศึกษา จัดทำข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษา มีแผนการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา และระบบกำกับติดตามคุณภาพอย่างเป็นระบบ