bansalapk01@gmail.com 098-202-3524

ข้อมูลทั่วไป

คำขวัญ

เน้นความรู้ สู่การปฏิบัติ พัฒนาคุณธรรม นำสู่คุณภาพชีวิต

ประวัติโรงเรียน

โรงเรียนบ้านศาลา  ตั้งเมื่อ 8  มิถุนายน พ.ศ. 2482 ที่วัดบ้านศาลา นามว่า โรงเรียนประชาบาลตำบลสมอ 1” (วัดบ้านศาลา) เมื่อปี พ.ศ. 2495  เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนบ้านศาลา มัดกา  และวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2509  ย้ายโรงเรียนจากวัดไปสร้างในที่ดินเอกเทศ สังกัดบ้านศาลา  หมู่ที่ 2  ตำบลหนองเชียงทูน  อำเภอปรางค์กู่  จังหวัดศรีสะเกษ  ใช้ภาษาส่วยในการสื่อสาร 70%  และภาษาลาว  30%  อาชีพของประชากรทำนาข้าว 99%  และอื่นๆ  1%

     โรงเรียนใกล้เคียง  ทิศเหนือโรงเรียนบ้านตาเปียง 5 กิโลเมตร  ทิศใต้โรงเรียนบ้านหนองระนาม  3  กิโลเมตร  ทิศตะวันตกโรงเรียนบ้านไฮ3  กิโลเมตร  ทิศตะวันออกโรงเรียนบ้านหนองคูขาม  4 กิโลเมตรและโรงเรียนบ้านหนองเชียงทูน 5 กิโลเมตร

วิสัยทัศน์

                ภายในปี 2564 โรงเรียนบ้านศาลา ผู้เรียนมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา  มีคุณธรรมน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  เลิศล้ำด้านกีฬา  พัฒนาสู่ความเป็นสากล ประกันภายในเข้มแข็ง  ชุมชนร่วมแรงจัดการศึกษา ครูก้าวหน้าสู่มืออาชีพ

พันธกิจ


1.  จัดการศึกษาให้ผู้เรียนได้คุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณธรรม  จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3. มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนมีสุขภาพที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย  จิตใจ อารมณ์  สติปัญญาและการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
 4. ส่งเสริมให้ชุมชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
5. พัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยมีประกันภายในที่เข้มแข็ง
6. ส่งเสริมและพัฒนาครูให้เป็นมืออาชีพ
7. ส่งเสริมการสร้างอัตลักษณ์ของสถานศึกษาให้โดดเด่น

เป้าประสงค์

1.      ผู้เรียนมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

2.      ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

3.      ผู้เรียนมีสุขภาพที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย  จิตใจ อารมณ์  สติปัญญาและการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

4.      ชุมชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

5.      สถานศึกษามีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยมีประกันภายในที่เข้มแข็ง

6.      ครูมีความรู้  ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง

7.      สถานศึกษามีอัตลักษณ์ที่โดดเด่น