ข้อมูลทั่วไป

คำขวัญ

สุขภาพดี สิ่งแวดล้อมเด่น เน้นการเรียนรู้ คู่คุณธรรม

ประวัติโรงเรียน

โรงเรียนบ้านปูโป๊ะ   ตั้งอยู่หมู่ที่   4  โรงเรียนบ้านปูโป๊ะ  ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตำบลมูโนะ  อำเภอสุไหงโก – ลก  จังหวัดนราธิวาส     จัดตั้งขึ้นโดยพ่อแม่ ผู้ปกครอง และประชาชนในหมู่บ้าน โดยการนำของนายอนันต์ สามะ  ผู้ใหญ่บ้าน  อาคารเรียนหลังแรกเป็นอาคารชั่วคราว หลังคามุงจาก สร้างขึ้นในที่ดินบริเวณ   2 ไร่  2 งาน  50  ตร.วา   เปิดทำการสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2502   โดยมีนายอนุวาท รัดรึงสุนทรี  ทำหน้าที่รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่โดยทำการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4   ต่อมาได้ขยายชั้นเรียนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พร้อมรับเด็กก่อนเกณฑ์บังคับเข้าเรียน 1 ปี  เรียกว่าชั้นเด็กเล็ก ซึ่งต่อมาขยายเป็น 2 ปี และเปลี่ยนเป็นชั้นอนุบาลปีที่ 1 และชั้นอนุบาลปีที่ 2   ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 ได้รับอนุญาตให้เปิดเป็นโรงเรียนขยายโอกาสเปิดสอนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 

ปัจจุบัน โรงเรียนบ้านปูโป๊ะ  ตั้งอยู่บนที่ดิน  จำนวน  4  ไร่  2  งาน  50  ตารางวา  ได้เปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับอนุบาลปีที่ 1 (อายุ  ๓  ปี ) จนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3   มีนักเรียนทั้งสิ้น   328  คน  แบ่งเป็น 13 ห้องเรียน   มีข้าราชการครู  20  คน   พนักงานราชการ   2  คน  ครูอัตราจ้าง   -   คน  วิทยากรอิสลามศึกษาแบบเข้ม    4   คน  ลูกจ้างประจำ  -  คน   ธุรการโรงเรียน คน  พนักงานรักษาความปลอดภัย    3   คน   มีอาคารเรียน    4   หลัง  คือ  อาคารเรียนแบบ 017   จำนวน   1 หลัง   อาคารเรียน แบบ สปช. 105/29   จำนวน  1  หลัง   อาคารเรียน แบบ สปช. 2/28  จำนวน  1  หลัง  และอาคารเรียน แบบ สปช. 105/29  ปรับปรุง   จำนวน  1  หลัง  สภาพอาคารเรียนโดยทั่วไปใช้การได้ดี   สภาพแวดล้อมของโรงเรียน ยังขาดสนามเด็กเล่น โรงอาหาร  อาคารละหมาด และอาคารอเนกประสงค์

วิสัยทัศน์

        ภายในปี พ.ศ  2563  จัดการศึกษาให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน  มีคุณธรรม จริยธรรมตามหลักศาสนา  พร้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง บนพื้นฐานของความเป็นไทย  โดยชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม 

พันธกิจ

1. พัฒนาหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้มุ่งเน้นนักเรียนเป็นสำคัญ และการประกันคุณภาพการศึกษา  ตามมาตรฐานชาติสู่ประชาคมอาเซียน
2. ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และเสริมสร้างสุขภาพของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง
จริยธรรม และเสริมสร้างสุขภาพของนักเรียนอย่างต่อเนื่องเปลี่ยนแปลงต่อระบบสังคมโลกโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3. ส่งเสริมอัตลักษณ์วิถีไทยบนพื้นฐานของความเป็นไทยและยอมรับการเปลี่ยนแปลงต่อระบบสังคมโลกโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
4.
ส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตย การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
และภูมิปัญญาท้องถิ่น
5. พัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษาโดยท้องถิ่นมีส่วนร่วม ของบุคคล องค์กร
ของบุคคล องค์กรส่วนท้องถิ่น ผู้ปกครองและชุมชน