ข้อมูลทั่วไป

ประวัติโรงเรียน

โรงเรียนบ้านปากเหมือง สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2486 ด้วยการสนับสนุนเงินงบประมาณของพระครูวิริยากรโกศล  จำนวนเงิน 4,450 บาท  และทางราชการอนุมัติงบประมาณให้อีก 34,321 บาท รวมทั้งสิ้น 238,771 บาท   บนเนื้อที่ 5 ไร่  โดย นายรัตน์  นิลดำ  บริจาคให้ ต่อมาในปี พ.ศ. 2509  นายกุศล  นางทองใบ  แช่มช้อยบริจาคที่ให้อีก  2  งาน  รวมมีเนื้อที่   5  ไร่  2 งาน ในปี2560นายประสงค์ แพใหญ่ บริจาคที่ดินให้โรงเรียนจำนวนเนื้อที่   5  ไร่  2 งาน  ปัจจุบันมีเนื้อที่ทั้งหมด 10 ไร่ 4 งานมีอาณาเขตติดต่อดังนี้ 

ทิศเหนือ              ติด  ถนนแหลมสะแก

ทิศใต้                  ติด  ลำเหมืองสาธารณประโยชน์

ทิศตะวันออก       ติด  ที่ดินส่วนบุคคล

ทิศตะวันตก         ติด  ถนนกุยบุรี-โพธิ์เรียง

                    เริ่มทำการเปิดสอนเมื่อวันที่  14  เดือน  กรกฎาคม พ.ศ. 2486  ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปัจจุบันโรงเรียนบ้านปากเหมือง  เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล  1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่   6  มีนักเรียนรวมทั้งสิ้น  138  คน  แยกเป็นนักเรียนระดับชั้นอนุบาล  จำนวน 52 คน  และนักเรียนระดับประถมศึกษาจำนวน 86   คน  มีห้องเรียนจำนวน 9 ห้องเรียน      มีผู้อำนวยการจำนวน 1 คน  ครูจำนวน  11  คน บุคลากรทางการศึกษาจำนวน 3 คน รวมผู้อำนวยการ ครูและบุคลากรทางการศึกษา ทั้งหมดจำนวน 15 คน

วิสัยทัศน์

     “ โรงเรียนบ้านปากเหมืองจัดการศึกษาโดยมุ่งพัฒนาให้นักเรียนเป็นคนดี  มีความรู้  เชิดชูความเป็นไทย 

ใส่ใจสิ่งแวดล้อม  น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ”

พันธกิจ

1.  ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์

2.  พัฒนาคุณภาพการศึกษาปฐมวัย และการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ผู้เรียนมีคุณภาพเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน

3.  ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้แสดงออกถึงความเป็นไทยทั้งด้านดนตรี กีฬา ศิลปะและวัฒนธรรมไทย

4.  ปลูกฝังให้นักเรียนรักษาความสะอาด อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

5.  ส่งเสริมการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ

6.  พัฒนาระบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

เป้าประสงค์

เป้าหมาย

1.       นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์

2.       นักเรียนผ่านเกณฑ์การเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระ

3.       นักเรียนได้แสดงออกด้านดนตรี  กีฬา  ศิลปะและวัฒนธรรมไทย

4.       นักเรียนช่วยกันรักษาความสะอาดและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

5.       นักเรียนนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ

6.       ผู้มีส่วนร่วมมีความพึงพอใจต่อระบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน