ข้อมูลทั่วไป

คำขวัญ

เรียนดี คุณธรรมเด่น เน้นความพอเพียง

ประวัติโรงเรียน

โรงเรียนบ้านหนองปลา ตั้งขึ้นเมื่อ พ.. 2479 ในพื้นที่หมู่ที่ 9 ตำบลนาขา โดยความร่วมมือของท่านพระครูธรรมจารีมณีวงศาจารย์ และนายพร้อม  ทองสกุล เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างเป็นอาคารชั่วคราว มีนายพิตร  มนตลักษณ์ เป็นครูใหญ่ ให้ชื่อว่า โรงเรียนบ้านหนองปลาตำบลนาขา

            .. 2486 นางหีตภัย ได้อุทิศที่ดินให้พระเดชพระคุณท่านธรรมจารีมุณีวงศาจารย์ กว้าง 1 เส้น ยาว 2 เส้น 4 วา ในพื้นที่หมู่ที่ 7 ตำบลนาขา จึงได้ย้ายโรงเรียนมาตั้งในพื้นที่ดังกล่าว ในปี พ.. 2488 เป็นโรงเรียนยกพื้น สูง 1 เมตร กว้าง 8 x 12 เมตร เสาไม้มีมุขหน้าพื้นกระดาน หลังคามุงสังกะสี ไม่มีฝา นายพิตร  มนตลักษณ์ เป็นครูใหญ่ เปิดสอนตั้งแต่ชั้น ป.1 – .4

1 ธันวาคม 2500 นายพิตร  มนตลักษณ์ ถึงแก่กรรม ทางราชการแต่งตั้งให้ นายกระจ่าง  พะลัง

ครูใหญ่โรงเรียนบ้านในหูตมาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ ตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม พ.. 2500 มีนางน้าว  รัตนหาญ  เป็นครูผู้สอน มีนักเรียนทั้งหมด 45 คน

          ปี พ.. 2502 ได้รับงบประมาณ 1,500 บาท เปลี่ยนพื้นไม้กระดานที่ชำรุด ผู้ปกครองบริจาคเงิน  604 บาท สร้างบันไดถาวร 12 มกราคม 2504 นายกระจ่าง  พะลัง ย้ายไปทำการสอนโรงเรียนบ้านน้ำตก  นางน้าว  รัตนหาญ รักษาการแทนครูใหญ่ จนถึงวันที่ 17 มกราคม 2504 ทางราชการแต่งตั้ง 

นายดุลย์  โรยสุวรรณ จากโรงเรียนบ้านบางหยี มารักษาการครูใหญ่ วันที่ 22 กันยายน พ.. 2508  นายดุลย์  โรยสุวรรณ ย้ายไปโรงเรียนวัดถ้ำเขาเงิน ทางราชการแต่งตั้ง นายนัด  ศรีเวชนันต์ ครูใหญ่โรงเรียนบ้านในเหมือง มาดำรงตำแหน่งรักษาการครูใหญ่ มีนางปิ่นแก้ว  สุวรรณพาหุ เป็นครูผู้สอน

          .. 2513 นายนัด  ศรีเวชนันต์ พร้อมนางปิ่นแก้ว  สุวรรณพาหุ ได้ประชุมผู้ปกครองเพื่อย้ายโรงเรียนจากที่ตั้งอยู่เดิมไปตั้งในที่ของนายแพน  ฉิมมณี ซึ่งมอบให้สร้างอาคารเรียนในนามของ                นางประพิศ  ฉิมมณี บุตรสาว  จำนวน  8 - 1 – 76 ไร่ ในพื้นที่หมู่ที่ 7 ตำบลนาขา ริมถนนเอเซีย สาย 41  ในปัจจุบัน ที่ประชุมเห็นด้วย นายมังกร  วรวิสุทธิสารกุล บริจาคเงิน  2,800 บาทเศษ สร้างอาคารชั่วคราว กว้าง 8 เมตร ยาว 18 เมตร โดยผู้ปกครองร่วมแรงกันในการก่อสร้างแล้วเสร็จเปิดทำการเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2513 มีครู 2 คนคือ นายนัด  ศรีเวชนันต์ เป็นครูใหญ่ และ นางปิ่นแก้ว  สุวรรณพาหุ เป็นครูผู้สอน เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ มีนักเรียน  63  คน 

          ปี พ.ศ. 2514 ทางราชการได้จัดสรรงบประมาณ 140,000 บาท (หนึ่งแสนสี่หมื่นบาทถ้วน) สร้างอาคารเรียนแบบ ป.1 ก 4 ห้องเรียน ทาสี มีครุภัณฑ์พร้อม

          ปี พ.ศ. 2519 ทางราชการได้จัดสรรงบประมาณ 200,00 บาท (สองแสนบาทถ้วน) สร้างอาคารเรียนแบบ  ป.1 ก 4 ห้องเรียน ทาน้ำมัน คุรุภัณฑ์ประจำห้องพร้อม

          ในปีเดียวกันทางราชการจัดสรรงบประมาณ 15,000 บาท (หนึ่งหมื่นห้าพันบาทถ้วน) สร้างส้วมขนาด 4 ที่นั่งฝาผนังคอนกรีต หลังคามุงกระเบื้อง เมื่อมีอาคาร ป.1 ก จำนวน 2 หลัง รวม 8 ห้องเรียน จึงได้เปิดทำการสอน ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในปี พ.ศ. 2520

          ปี พ.ศ. 2521 นายนัด  ศรีเวชนันต์ ย้ายไปโรงเรียนวัดดอนวาสทางราชการแต่งตั้ง นายประชุม  วรดิลก มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ ปี พ.ศ. 2523 ได้งบประมาณจำนวน 100,000 บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน) สร้างโรงฝึกงานตามแบบกรมสามัญ 1 หลัง 

 โรงเรียนบ้านหนองปลา ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2479 ในพื้นที่หมู่ที่ 9 ตำบลนาขา โดยความร่วมมือของท่านพระครูธรรมจารีมณีวงศาจารย์ และนายพร้อม ทองสกุล เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างเป็นอาคารชั่วคราว มีนายพิตร  มนตลักษณ์  เป็นครูใหญ่ ให้ชื่อว่า โรงเรียนบ้านหนองปลา ตำบลนาขา 2 

          พ.ศ. 2486 นางหีตภัย ได้อุทิศที่ดินให้พระเดชพระคุณท่านธรรมจารีมุณีวงศาจารย์ กว้าง 1 เส้น ยาว 2 เส้น 4 วา ในพื้นที่หมู่ที่ 7 ตำบลนาขา จึงได้ย้ายโรงเรียนมาตั้งในพื้นที่ดังกล่าว ในปี พ.ศ. 2488 เป็นโรงเรียนยกพื้น สูง 1 เมตร กว้าง 8 x 12 เมตร เสาไม้มีมุขหน้าพื้นกระดาน หลังคามุงสังกะสี  ไม่มีฝา โดยมีนายพิตร  มนตลักษณ์ เป็นครูใหญ่ เปิดสอนตั้งแต่ชั้น ป.1ป.4

          1 ธันวาคม 2500 นายพิตร  มนตลักษณ์ ถึงแก่กรรม ทางราชการแต่งตั้งให้นายกระจ่าง  พะลัง ครูใหญ่โรงเรียนบ้านในหูตมาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ ตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2500 มีนางน้าว  รัตนหาญ เป็นครูผู้สอนมีนักเรียนทั้งหมด  45  คน

          ปี พ.ศ. 2502 ได้รับงบประมาณ 1,500 บาท เปลี่ยนพื้นไม้กระดานที่ชำรุด ผู้ปกครองบริจาคเงิน 604  บาท สร้างบันไดถาวร 12 มกราคม 2504 นายกระจ่าง  พะลัง ย้ายไปทำการสอนโรงเรียนบ้านน้ำตก นางน้าว  รัตนหาญ รักษาการแทนครูใหญ่จนถึงวันที่ 17 มกราคม 2504 ทางราชการแต่งตั้ง นายดุลย์  โรยสุวรรณ จากโรงเรียนบ้านบางหยี มารักษาการครูใหญ่ วันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2508 นายดุลย์  โรยสุวรรณ ย้ายไปโรงเรียนวัดถ้ำเขาเงิน ทางราชการแต่งตั้ง นายนัด  ศรีเวชนันต์ ครูใหญ่โรงเรียนบ้านในเหมืองมาดำรงตำแหน่งรักษาการครูใหญ่ มีนางปิ่นแก้ว  สุวรรณพาหุ เป็นครูผู้สอน

          พ.ศ. 2513 นายนัด  ศรีเวชนันต์ พร้อมนางปิ่นแก้ว  สุวรรณพาหุ ได้ประชุมผู้ปกครองเพื่อย้ายโรงเรียน จากที่ตั้งอยู่เดิมไปตั้งในที่ของนายแพน  ฉิมมณี ซึ่งมอบให้สร้างอาคารเรียนในนามของนางประพิศ  ฉิมมณี บุตรสาว  จำนวน  8 - 1 – 76 ไร่ ในพื้นที่หมู่ที่ 7 ตำบลนาขา ริมถนนเอเซีย สาย 41 ในปัจจุบัน ที่ประชุมเห็นด้วย นายมังกร  วรวิสุทธิสารกุล บริจาคเงิน 2,800 บาทเศษ สร้างอาคารชั่วคราว กว้าง 8 เมตร ยาว 18 เมตร โดยผู้ปกครองร่วมแรงกันในการก่อสร้าง แล้วเสร็จเปิดทำการเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2513 มีครู 2 คนคือ นายนัด ศรีเวชนันต์ เป็นครูใหญ่ และ นางปิ่นแก้ว  สุวรรณพาหุ เป็นครูผู้สอนเปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 4 มีนักเรียน 63 คน 

          ปี พ.ศ. 2514 ทางราชการได้จัดสรรงบประมาณ 140,000 บาท (หนึ่งแสนสี่หมื่นบาทถ้วน) สร้างอาคารเรียนแบบ ป.1 ก 4 ห้องเรียน ทาสี มีครุภัณฑ์พร้อม

          ปี พ.ศ. 2519 ทางราชการได้จัดสรรงบประมาณ 200,00 บาท (สองแสนบาทถ้วน) สร้างอาคารเรียนแบบ  ป.1 ก 4 ห้องเรียน ทาน้ำมัน คุรุภัณฑ์ประจำห้องพร้อม

          ในปีเดียวกันทางราชการจัดสรรงบประมาณ 15,000 บาท (หนึ่งหมื่นห้าพันบาทถ้วน) สร้างส้วมขนาด 4 ที่นั่งฝาผนังคอนกรีต หลังคามุงกระเบื้อง เมื่อมีอาคาร ป.1 ก จำนวน 2 หลัง รวม 8 ห้องเรียน จึงได้เปิดทำการสอน ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในปี พ.ศ. 2520

          ปี พ.ศ. 2521 นายนัด  ศรีเวชนันต์ ย้ายไปโรงเรียนวัดดอนวาสทางราชการแต่งตั้ง นายประชุม  วรดิลก มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ ปี พ.ศ. 2523 ได้งบประมาณจำนวน 100,000 บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน) สร้างโรงฝึกงานตามแบบกรมสามัญ 1 หลัง

          ปี พ.ศ. 2527 นายประชุม  วรดิลก ขอลาออกจากราชการ ทางราชการจึงแต่งตั้งให้นายวัฒนา  กองเจริญ  มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่

          ปี พ.ศ. 2529 ทางราชการอนุมัติให้เปิดสอนชั้นเด็กเล็ก โรงเรียนก็ได้เปิดสอนตั้งแต่ชั้นเด็กเล็กถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

          ปี พ.ศ. 2535 นายวัฒนา  กองเจริญ ได้ทำเรื่องขอย้ายสับเปลี่ยนกับ นายชำนิ  ภักดี อาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านคลองระ ทางราชการอนุมัติตามคำขอเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2535

          นายชำนิ  ภักดี มารับตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนบ้านหนองปลา เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2535

30 กันยายน 2543 นายชำนิ  ภักดี ได้ลาออกตามโครงการเปลี่ยนเส้นทางชีวิตเกษียณก่อนกำหนดและทางราชการก็ไม่มีตำแหน่งผู้บริหารให้ซึ่งมีนางฐิติมา  ภาสภิรมย์ ครูอันดับ คศ.2 เป็นผู้รักษาราชการแทนผู้อำนวยการโรงเรียน   บ้านหนองปลา ตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2543 วันที่ 1 กรกฎาคม 2545 ทางราชการได้แต่งตั้งให้ นายสมบัติ  ชิ้นประสิทธิ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านในเหมือง มาปฏิบัติหน้าที่ผู้บริหารโรงเรียนบ้านหนองปลาอีกตำแหน่งหนึ่ง 30 กันยายน 2550 นายสมบัติ  ชิ้นประสิทธิ์ เกษียณอายุราชการวันที่ 3 กรกฎาคม 2551 ทางราชการได้แต่งตั้งให้นายเบญจางค์  นิยมธรรมชาติ ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดดอนวาส มาปฏิบัติหน้าที่ผู้บริหารโรงเรียนบ้านหนองปลาอีกตำแหน่งหนึ่ง

          ปี พ.ศ.2544 – 2553 นางฐิติมา  ภาสภิรมย์       รักษาราชการแทนผู้อำนวยการ

          ปี พ.ศ.2554 – 2555 นางนิภา  ศรีเปารยะ        ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ

          ปี พ.ศ.25552559 นายอุดม  แสงแก้ว          ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ

          1 ตุลาคม 255922 ธันวาคม 2559 นายพงษ์ศักดิ์  ย้อยสวัสดิ์    รักษาราชการแทนผู้อำนวยการ

          23 ธันวาคม 2559ปัจจุบัน นายวรวิทย์  ศรีสุพล   ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ 

วิสัยทัศน์

ภายในปี พ.ศ. 2566 โรงเรียนบ้านหนองปลา จัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยน้อมนำศาสตร์พระราชามาใช้ ภายใต้ความร่วมมือของชุมชน

พันธกิจ

    ด้านผู้เรียน

1. เตรียมความพร้อมเด็กก่อนระดับอนุบาลให้มีความพร้อมด้านร่างกายและโภชนาการ และจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เชื่อมโยงระบบโรงเรียนปกติ

2. ส่งเสริมการจัดประสบการณ์ในการพัฒนาการเด็กทั้ง 4 ด้าน

3. ส่งเสริมการอ่าน การเขียน การสื่อสารและการคิดคำนวณ

4. ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยน ความคิดเห็น และแก้ปัญหา

5. ส่งเสริมให้มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม

6. ส่งเสริมให้มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ และการสื่อสาร

7. ส่งเสริมให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา

8. ส่งเสริมให้มีความรู้ ทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ

9. ส่งเสริมให้มีการแข่งขันทักษะในระดับต่าง ๆ

10. ส่งเสริมให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนตามหลักสูตรและคุณธรรมอัตลักษณ์โรงเรียน

   ด้านการบริหาร

1. จัดให้มีการกำหนด วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย กลยุทธ์ เอกลักษณ์ อัตลักษณ์ ปฏิญญา วิถีโรงเรียนบ้านหนองปลา ที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน

2. จัดให้มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา

3. ส่งเสริมให้มีการดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษา และทุกกลุ่มเป้าหมาย

4. ส่งเสริมในด้านการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ

5. ส่งเสริมให้มีจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ

6. ส่งเสริมให้มีการพัฒนาระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีเพื่อการบริหารและจัดการเรียนรู้

7. ส่งเสริมให้ชุมชน องค์กรภาครัฐ เอกชน และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา

8. ส่งเสริมให้มีการน้อมนำพระบรมราโชบายและศาสตร์พระราชามาใช้ในการจัดการศึกษา       

ด้านครูผู้สอน

1. ครูศึกษา พรบ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และ ปรับปรุงแก้ไข

2. ครูวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลาง พ.ศ. 2551 และ ปรับปรุงแก้ไข

3. ครูจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาและหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้

4. ครูวิเคราะห์มาตรฐาน และตัวชี้วัด ตามรายวิชา

5. ครูจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้และโครงการจัดการเรียนรู้

6. ครูสร้าง จัดหา สื่อเทคโนโลยี ในการเรียนการสอน

7. ครูมีการตรวจสอบและประเมินผลผู้เรียนอย่างมีระบบแล้วนำผลมาพัฒนาผู้เรียน

8. ครูมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ (PLC)

9. ครูมีการส่งเสริมกระบวนการคิด ปฏิบัติจริง และนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

เป้าประสงค์

1. เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน

2. นักเรียนมีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสารและการคิดคำนวณ

3. นักเรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยน ความคิดเห็น และแก้ปัญหา

4. นักเรียนมีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม

5. นักเรียนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ และการสื่อสารสืบค้นข้อมูล

6. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา

7. นักเรียนมีความรู้ ทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ

8. นักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันทักษะในระดับต่าง ๆ

9. นักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนตามหลักสูตรและคุณธรรมอัตลักษณ์โรงเรียน

          10. มีการกำหนด วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย กลยุทธ์ เอกลักษณ์ อัตลักษณ์ ปฏิญญา วิถีโรงเรียนบ้านหนองปลา ที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน

11. มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา

12. มีการดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย

13. มีการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ

14. มีจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ

15. มีการพัฒนาระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีเพื่อการบริหารและจัดการเรียนรู้

16. ชุมชน องค์กรภาครัฐ เอกชน และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา

17. มีการน้อมนำพระบรมราโชบายและศาสตร์พระราชามาใช้ในการจัดการศึกษา

18. ครูศึกษา พรบ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และ ปรับปรุงแก้ไข

19. ครูวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลาง พ.ศ. 2551 และ ปรับปรุงแก้ไข

20. ครูจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาและหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้

21. ครูวิเคราะห์มาตรฐาน และตัวชี้วัด ตามรายวิชา

22. ครูจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้และโครงการจัดการเรียนรู้

23. ครูสร้าง จัดหา สื่อเทคโนโลยี ในการเรียนการสอน

24. ครูมีการตรวจสอบและประเมินผลผู้เรียนอย่างมีระบบแล้วนำผลมาพัฒนาผู้เรียน

25. ครูมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ (PLC)

26. ครูมีการส่งเสริมกระบวนการคิด ปฏิบัติจริง และนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

นายวรวิทย์ ศรีสุพล

ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองปลา