เผยแพร่ผลงานวิจัย เรื่อง ผลการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

    ชื่อเรื่อง       ผลการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

                ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ผู้ศึกษา       นางรอฮานี  เจ๊ะโซะ

หน่วยงาน    โรงเรียนบ้านดาลอ  อำเภอยะหริ่ง  จังหวัดปัตตานี

                สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1

ปีที่รายงาน   2563

 

บทคัดย่อ

 

                 การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)พัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มประชากร คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา2563 โรงเรียนบ้านดาลอ อำเภอยะหริ่ง  จังหวัดปัตตานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1 จำนวนนักเรียน 15 คน ได้มาโดยใช้แบบแผนการทดลองแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังการทดลอง 1 กลุ่ม (One Group Pretest Posttest Design)เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารชั้นประถมศึกษาปีที่ 52) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อและ3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที (t-test)

                 ผลการศึกษา พบว่า

      1. แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้รายงานสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.98/83.33ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้

      2.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5ที่เรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารชั้นประถมศึกษาปีที่ 5หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

              3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนรู้ด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในภาพรวม อยู่ในระดับมา(=4.69,  = 0.53)

 

 


แชร์หน้านี้