ประวัติโรงเรียน
โรงเรียนบ้านชีวิทยาเดิมอาศัยอาคารโรงเรียนวัดกำแพงซึ่งสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรีที่ยุบเลิกไป โดยมีท่านพระครูพิพัฒน์สารคุณ(พระอาจารย์ทองเจือ ฐิติญาโณ) อดีตเจ้าอาวาสวัดกำแพงและเจ้าคณะตำบลบ้านชี - บางขามในขณะนั้น (ปัจจุบันท่านได้มรณะภาพแล้ว)เป็นผู้ ริเริ่มก่อตั้ง และได้รวบรวมผู้มีจิตศรัทธาช่วยกันบริจาคทุนทรัพย์และที่ดิน เพื่อจัดตั้งโรงเรียนขึ้น ต่อมาคณะกรรมการโรงเรียนได้รวบรวมสมาชิกกลุ่มชาวบ้านใกล้เคียงกับท้องถิ่นนี้ และที่ไปประกอบอาชีพที่อื่นให้ช่วยบริจาคเงินในการจัดหาที่ดินในเนื้อที่ประมาณ 48 ไร่เพื่อจัดสร้างอาคารชั่วคราว หลังแรก ในปีพ.ศ. 2522 ต่อมาปีการศึกษา 2523 ได้ก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราวเพิ่มอีก 1 หลังวมทั้งได้เริ่มทำการก่อสร้างอาคารเรียนถาวรแบบ 216 ค จำนวนครึ่งหลังซึ่งได้ใช้เป็นอาคารเรียนถาวรตั้งแต่ปีการศึกษา 2524และในปีการศึกษา 2525 ได้รับจัดสรรงบประมาณ ต่อเติมอาคารเรียนถาวรอีกครึ่งหลังแบบ 216 ค. จำนวน 1 หลัง โรงฝึกงานอุตสาหกรรมและคหกรรมอีก 1 หลัง ก่อสร้างอาคารเรียนแบบ ซี - เอส ปีการศึกษา 2529 -2530 ได้รับงบประมาณจากโครงการ มพช. 2 รุ่น 4 ในปีการศึกษา 2544 จัดสร้างอาคารศูนย์อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยการนำของคุณลุงทวี ทองโต และในปีการศีกษา 2551 ได้จัดสร้างอาคารไม้วิจิตรสุธาการ โดยความอนุเคราะห์จากท่านพระครูวิจิตรสุธาการรองเจ้าคณะอำเภอบ้านหมี่เป็นเจ้าภาพ จัดหาทุนในการก่อสร้างร่วมกับผู้มีจิตศรัทธา
โรงเรียนบ้านชีวิทยาเคยได้รับโล่ห์รางวัลโรงเรียนพระราชทานขนาดเล็ก ระดับมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2527
ปัจจุบันเปิดสอนนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - มัธยมศึกษาปีที่ 6เป็นนักเรียน แบบไป - กลับ และเป็นโรงเรียนที่อยู่ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5
ปัจจุบันตั้งอยู่เลขที่ 61 หมู่ 6 ตำบลบ้านชี อำเเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี 15180
วิสัยทัศน์
โรงเรียนบ้านชีวิทยา มุ่งพัฒนาให้นักเรียนมีความสามารถด้านการคิด พัฒนาทักษะชีวิตเพื่อการดำรงตนอยู่ในสังคมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพีย
พันธกิจ
๑. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบคิดสร้างสรรค์ ตัดสินใจแก้ปัญหาได้อย่างสมเหตุสมผล
๒. ครูจัดการเรียนรู้ที่ให้นักเรียนเกิดการพัฒนาด้านการคิดทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
๓. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะในการดำรงชีวิตและประกอบอาชีพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
๔. ส่งเสริมให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาทักษะชีวิตเพื่อการดำรงตนในสังคมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
๕. พัฒนาสถานศึกษาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้ภายนอก
เป้าประสงค์